...
...
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566
หน้า: 277-286
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 231
Download: 240
Download PDF
แนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครสวรรค์
Guidelines for the Work Operating Satisfaction Development of Pre-School Teachers of Private School under the Office of the Private Education Commission Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง
ปัทมา นามโลมา, ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน, ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ
Author
Pattama Namloma, Teeppipat Santawan, Thitinan Duangsuwan

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน และ 2) ประเมินแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน การดำเนินการแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การหาแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ดำเนินการโดยศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน จำนวน 136 คน ที่ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก  เพื่อนำผลไปกำหนดร่างแนวทางการพัฒนา แล้วทำการประชุมแบบมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล คือแบบการบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วมและ 2) การประเมินแนวทางทางการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน จำนวน 14 คน เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีความเที่ยงเท่ากับ 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัย พบว่าควรดำเนินการดังนี้ ควรมีการให้รางวัลกับครูที่ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ มอบหมายงานให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล กำหนดคุณลักษณะในการเลื่อนตำแหน่งที่ชัดเจนและยุติธรรมและมีการกำหนดมาตรฐานในการให้เงินเดือนและสวัสดิการ เสริมสร้างแรงจูงใจด้านความมั่นคงของโรงเรียน ร่วมกันดูแลสถานที่ทำงานให้มีความเหมาะสมกับการทำงาน 2. การประเมินแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน พบว่าแนวทางในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

Abstract

The purposes of this research were to 1) find the guidelines for the work operating satisfaction development of pre-school teachers of private school and 2) assess the guidelines for the work operating satisfaction development of pre-school teachers of private school. The research was conducted into 2 steps: 1) finding the guidelines for the work operating satisfaction development of pre-school teachers conducted by study the level of job satisfaction of 136 early childhood teachers in private schools which was determined by using Krejcie & Morgan formula and simple random sampling for making the draft development guidelines, after that conducted the focus group discussion comprising 7 experts. Data was analyzed by content analysis. The instrument was the recording form. Data was analyzed by content analysis. and 2) assessing the guidelines for the work operating satisfaction development of pre-school teachers. The sample were 14 administrators. The instrument was a assessment form according to the guidelines for the work operating satisfaction development of pre-school teachers with a reliability of 0.98. Data was analyzed by mean and standard deviation. The research finding were as follows: 1. the guidelines for the work operating satisfaction development of pre-school teachers of private school should proceed as follows: there should be reward teachers who perform to the best of their ability, assigned tasks appropriate to person's abilities, determine the characteristics for position promoted clearly and fairly and set standards for salary and welfare benefits, strengthened the school security incentives, caring together for improving the workplace to be suitable for work, 2. the assessment of the guidelines for the work operating satisfaction development of pre-school teachers of private school found that in the aspect of accuracy, suitability and possibility in overall was at a high level.

คำสำคัญ

แนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, ครูผู้สอนระดับปฐมวัย

Keyword

Guidelines for The Work Operating Satisfaction Development, Early Childhood Teachers

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093