บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ ระหว่างปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรทางการบริหาร ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 328 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 58 คน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ จำนวน 58 คนและครูผู้สอน จำนวน 212 คน จากนั้นผู้วิจัยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.983 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.467-0.922 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารอยู่ในระดับ มาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอยู่ในระดับ มาก 3. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารตามความคิดเห็นผู้บริหารโรงเรียนหัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกัน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนตามความคิดเห็นผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน 5. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนโดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.693) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 5 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดย 4 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ด้านงบประมาณ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร และ 1 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร 7. แนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพบว่า ด้านบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ควรมีแหล่งเรียนรู้ทันสมัย จัดสภาพแวดล้อม ส่งเสริมครู ด้านงบประมาณควรใช้งบประมาณตามแผน คุ้มค่า เหมาะสม โปร่งใส เพียงพอ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีการจัดเตรียม สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและเพียงพอ ด้านภาวะผู้นำ ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำ มีความรู้ ความสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี หมั่นพัฒนาตนเอง ด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร ควรพัฒนา ส่งเสริม สร้างแรงจูงใจขวัญกำลังใจแก่บุคลากร
Abstract
This research aimed to examine, compare, identify the relationship and the predictive power between the selected administrative factors affecting the effectiveness of academic administration in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by school administrators, heads of academic administration division, and teachers, and established the guidelines for developing selected administrative factors. The sample size was determined using Krejci and Morgan tables with a total of 328 participants, comprising 58 school administrators, 58 heads of academic administration, and 212 teachers. The researcher then collected data using multi-stage random sampling. The research tool for data collection was a set of questionnaires on the selected administrative factors that affected the effectiveness of school academic administration with a reliability of 0.983, and a predictive power ranging from 0.467 to 0. 922. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The selected administrative factors were at a high level. 2. The effectiveness of school academic administration was at a high level. 3. The selected administrative factors, as perceived by participants classified by school sizes differed, whereas there were no differences in terms of position and work experience. 4. The effectiveness of school academic administration, as perceived by participants based on their position and school sizes showed differences. However, no significant differences were observed concerning work experience. 5. The selected administrative factors and the effectiveness of school academic administration as a whole had a positive relationship at a moderate level (r = 0.693) with the .01 level of significance. 6. The five aspects of the selected administrative factors could predict the effectiveness of school academic administration under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The four aspects of the said variables achieved the .01 level of significance, namely learning atmosphere, budget, information technology, and leadership of administrators. The only aspect that met the .05 level of significance was personnel and personnel development. The regression equation could be written in raw and standardized score forms as follows: Y' = 0.446 + 0.295 X2 + 0.188 X4 + 0.154 X5 - 0.160 X3 + 0.101 X1. Z' = 0.298 ZX2 + 0.212 ZX4 + 0.185 ZX5 + 0.159 ZX3 + 0.101 ZX1. 7. Guidelines for developing the selected administrative factors affecting the effectiveness of school academic administration highlight the significance of a conducive learning atmosphere, which necessitates modern learning resources, and an environment that supports teachers. Additionally, the budget must align with the school’s plan, and be cost-effective, appropriate, transparent, and sufficient. The guidelines also emphasize the importance of equipping schools with modern and adequate information technology tools, media, and equipment. Furthermore, in terms of leadership, administrators must engage in leadership practices, be knowledgeable and capable, serve as good role models, and engage in personal improvement. It is also imperative to foster personnel and personnel development by promoting, motivating, and enhancing their morale
คำสำคัญ
ปัจจัยคัดสรรทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการKeyword
Selected Administrative Factors, Academic Administration Effectivenessกำลังออนไลน์: 45
วันนี้: 1,201
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,400
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093