...
...
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566
หน้า: 193-202
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 269
Download: 220
Download PDF
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
The Instructional Leadership of Administrators Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under Sakon Nakhon primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
สมพงษ์ วิเศษจันทร์, สุรัตน์ ดวงชาทม, บดินทร์ นารถโคษา
Author
Sompong Visetchan, Srat Doungchatom, Bodin Nardkosa

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 329 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 108 คน ครูผู้สอน 221 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.48 - 0.89 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.77 - 0.89 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples ส่วนการทดสอบขนาดของโรงเรียน ใช้สถิติการทดสอบค่าเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ลขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวม พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนโดยรวม อยู่ในระดับมาก 4. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (Rxy = 0.293) 6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ด้านการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรด้านวิชาการ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 10.7 และ มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.52866 7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน คือ ด้านการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรด้านวิชาการ ดังนี้ 1) ผู้บริหารต้องมีความรู้ความสามารถ วิชาชีพและการบริหารงานด้านวิชาการ 2) ผู้บริหารต้องเป็นต้นแบบที่ดีในวิชาชีพและการบริหารงานวิชาการ 3) ผู้บริหารสนับสนุนให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม 4) ผู้บริหารให้การส่งเสริมสนับสนุน ช่วยเหลือ แก่ครูและบุคลากรด้านวิชาการ ในการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ และการบริหารงานวิชาการ 5) ผู้บริหารให้ความสำคัญในการจัดให้มีการอบรม สัมมนาเพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถ และทักษะ ในการทำงานให้แก่ครูและบุคลากร

Abstract

This mixed research aims to examine, compare, and find a relationship. Identify Prophetic Power and formulate guidelines for teaching leadership development of administrators that affect academic administration effectiveness in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The samples obtained by multi-stage random sampling were administrators of 108 schools. 221 people and teachers working in schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2022 with 390 participants. The tools used for data collection were interviews and teaching leadership questionnaires. The discriminant power between 0.48 to 0.89 and a reliability value of 0.96 and the effectiveness of the school's academic affairs administration with a discriminant power between 0.77 to 0.89 and a reliability value of 0.93. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, section. Standard deviation t-test for independent samples. one-way analysis of variance Pearson correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The instructional leaderships of administrators of were overall at a high level. 2. The comparison results revealed that the overall instructional leadership of, classified by positions, school sizes, showed differences at the .01 level of significance. 3. The effectiveness of academic affairs administration in schools were overall at a high level. 4. The comparison results revealed that the overall effectiveness of academic affairs administration of schools whole showed no difference. classified by positions, school sizes, showed differences at the .01 level of significance.  5. The instructional leadership administrators and the effectiveness of academic affairs administration in schools had a positive relationship at the .01 level of significance with a low level (rxy= .293) 6. The instructional leadership consisting of academic professional development of teachers and personnel, could predict the effectiveness of academic affairs administration in schools .01 level of significance. with the predictive power of 10.7 percent and the standard error of estimate of ±.52866. 7. The proposed guidelines for developing instructional leadership affecting the effectiveness of academic affairs administration in school aspects: academic professional development of teachers and personnel, namely 1) Executives must have knowledge and ability. Professional and academic administration. 2) Administrators must be good role models in the profession and academic administration. 3) The management encourages the use of technology and innovation media. to keep pace with social changes 4) Administrators support and assist teachers and academic personnel. in professional self-development and academic administration 5) Administrators give importance to organizing training and seminars to increase knowledge, competence and skills for teachers and personnel.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Instructional Leadership, Effectiveness of Academic Affairs Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093