...
...
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566
หน้า: 183-192
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 275
Download: 236
Download PDF
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Transformational Leadership Guidelines Development of Special Education Center Administrators Under The Office of Special Education Administration Northeastern Region
ผู้แต่ง
อภิสิทธิ์ วงศ์รำพันธ์, ศุภธนกฤษ ยอดสละ, พนา จินดาศรี
Author
Aphisith Wongrampan, Suphatanakris Yordsara, Phana Jindasri

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และจำแนกตามกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษและข้าราชการครู ศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 679 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และข้าราชการครูใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีลักษณะเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.26 – 0.77 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบสมมติฐานโดยใช้เทคนิคสถิติที (t-test) และสถิติเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการทดสอบระหว่างคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษและ ข้าราชการครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษและ ข้าราชการครู จำแนกตามเพศโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ

Abstract

The purposes of this research were to study, compare the transformational leadership of administrators of Special Education Center classified by gender, by work experience, by group network promoting efficiency and to investigate the development approach of transformational leadership of administrators of Special Education Center under Special Education Bureau in Northeastern according to the opinions of administrators and teachers of Special Education Center in Northeastern in academic year 2021, 679 persons. A sample of this research was drawn from administrators and teachers of Special Education Center through Multi-stage Random Sampling: Stratified Random Sampling for administrators and Cluster Random Sampling for teachers, 348 persons. The research instruments were a set of questionnaire and interview forms with IOC values of 1.00, the discrimination ranging between 0.26 - 0.77, and the reliability of 0.98. The data was analyzed using percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test using One-Way ANOVA, and Scheffe’s method. The findings indicated that: 1. Transformational leadership of administrators of Special Education Center under Special Education Bureau in Northeastern according to the opinions of administrators and teachers of Special Education Center was overall at a high level. 2. Transformational leadership of administrators of Special Education Center under Special Education Bureau in Northeastern according to the opinions of administrators and teachers of Special Education Center classified by gender was overall different, was statistically significant at .01 level, by work experience was overall different, was statistically significant at .01 level, and classified by group network promoting efficiency was not overall different.  3. Transformational leadership of administrators of Special Education Center under Special Education Bureau in Northeastern should be improved in two aspects: inspirational motivation and idealized influence

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ศูนย์การศึกษาพิเศษ

Keyword

Transformational Leadership, Special Education Center

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093