...
...
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566
หน้า: 153-162
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 434
Download: 269
Download PDF
การศึกษาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
The Study of The Administrative Skills of School Administrators in The 21st Century Under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
อภิสิทธิ์ นันททรัพย์, ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน, สุพจน์ ดวงเนตร
Author
Apisit Nantasab, Saksit Rittilun, Supot Duangnet

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 333 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.44 - 0.97 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ทักษะด้านวิสัยทัศน์และการวางแผน, ทักษะด้านความร่วมมือและสังคม, ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์, และทักษะด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษาโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ทักษะด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแนวทางการพัฒนาดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนาความรู้พื้นฐาน สามารถใช้สื่อ ภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนาทักษะ การใช้อุปกรณ์ เทคนิควิธีการในรูปแบบต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา 3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรเห็นความสำคัญ ของการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการบริหารจัดการสถานศึกษา 4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนา การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป ที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ มีแนวทางการพัฒนาดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเอง เปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าลงมือทำ เรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวิเคราะห์และจัดข้อมูลสารสนเทศขององค์กรอย่างเป็นระบบ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรเข้ารับการอบรมและฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ 4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการนำความรู้และประสบการณ์ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน 5) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการศึกษา การใช้ทักษะกระบวนการใหม่ ๆ ในการวางแผนจัดการองค์กรและแก้ปัญหาองค์กร

Abstract

This research is a mixed methods research with 2 phases of research. Phase 1 was to study and compare of the administrative skills of school administrators in the 21st century under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The sample in this research was 333 school administrators and teachers under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The instrument used to collect the data was a questionnaire with a 5-level rating scale, which had discrimination between 0.44-0.97. The reliability of the questionnaires was 0.96. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and One-way ANOVA (F-test). Phase 2 was to study the development guidelines for the administrative skills of school administrators in the 21st century under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The target group consisted of 9 persons. The instrument used for gathering information was a semi-structured interview. Data analysis were content analysis and percentage. The research findings revealed that: 1. The study of the administrative skills of school administrators in the 21st century under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3, as a whole found at the highest level. When considering in each aspect sorted by average from the highest to the hight, including vision and planning skill, collaboration and human relations skill, creativity skill and communication and information technology skill. 2. Comparison of the administrative skills of school administrators in the the 21st century under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 classified by school size and work experience of school administrators were not statistically different. 3. The development guidelines for the administrative skills of school  administrators in the 21st century under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3, in the communication and information technology skills consisted of the following: 1) the school administrators should have basic knowledge about using media, communication, and information technology., 2) The school administrators should develop using media skills and other technical., 3) The school administrators should pay attention to media, information technology, and communication., and 4) The school administrators should develop using a package program. the creativity skill consisted of the following: 1) The school administrators should do self – develop, embrace change, and learn about new management methods. The school administrators should be decisive., 2) The school administrators should have analyzed and set the information technology system correctly and appropriately., 3) The school administrators should have a positive attitude and develop creative skills for school management., 4) The school administrators should bring experience and knowledge for the creative application of work., and 5) The school administrators should learn about using new skills and processes for planning for the management academy and problem-solving.

คำสำคัญ

ทักษะการบริหาร, ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21, แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21

Keyword

The Skills, The Administrative Skills of School Administrators in The 21st, Guidelines for The Administrative Skills of School Administrators in the 21st

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093