...
...
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566
หน้า: 143-152
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 540
Download: 286
Download PDF
การศึกษาการใช้อำนาจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
The Study of Using the Power of School Administrators under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
เบ็ญจรัตน์ นันททรัพย์, ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน, สุพจน์ ดวงเนตร
Author
Benjarat Nantasab, Saksit Rittilun, Supot Duangnet

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการใช้อำนาจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 333 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.46-0.97 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้อำนาจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. การใช้อำนาจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ อำนาจอ้างอิง อำนาจการให้รางวัล อำนาจการติดต่อเชื่อมโยง อำนาจความเชี่ยวชาญ อำนาจตามกฎหมาย อำนาจการมีข่าวสารข้อมูลและอำนาจบังคับ 2. ผลการเปรียบเทียบการใช้อำนาจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านอำนาจการให้รางวัล ด้านอำนาจบังคับ ด้านอำนาจตามกฎหมาย ด้านอำนาจอ้างอิงและด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอำนาจการมีข่าวสารข้อมูลและด้านอำนาจการติดต่อเชื่อมโยง ไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาการใช้อำนาจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ด้านอำนาจบังคับ ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความรู้พื้นฐานด้านกฎหมายควรมีการพัฒนาความรู้การใช้อำนาจเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้อำนาจในการพิจารณาบทลงโทษ มีกระบวนการสวบสวนหาสาเหตุ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับและความถูกต้อง 3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้อำนาจ ในการลงโทษครูให้เหมาะสม โดยให้ยึดตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง 4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้อำนาจในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงและสาเหตุ เมื่อครูกระทำผิด โดยยึดกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับที่ได้มีการกำหนดไว้ และด้านอำนาจการมีข่าวสารข้อมูล ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนาการใช้อำนาจในการประเมิน การวิเคราะห์ เห็นความสำคัญ ตระหนักถึงผลประโยชน์และผลกระทบจากการใช้สื่ออย่างเหมาะสม 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนาด้านทักษะ ความรู้ สามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่สำคัญจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานสถานศึกษา 3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการติดตามข่าวสารและทันเหตุการณ์ 4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาการใช้อำนาจ ศึกษาเรียนรู้ โดยนำองค์ความรู้ด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ แสวงหาข้อมูลข่าวสารที่จะเป็นประโยชน์มาใช้ในการวางแผนบริหารจัดการสถานศึกษา

Abstract

This research is a mixed methods research with 2 phases of research. Phase 1 was to study and compare of using the power of school administrators under Kalasin Primary educational service area Office 3. The sample in this research was 333 school administrators and teachers under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The instrument used to collect the data was a questionnaire with a 5-level rating scale, which had discrimination between 0.46-0.97. The reliability of the questionnaires was 0.98. The statistics used for data analysis were, percentage, mean, standard deviation, and One way ANOVA (F-test). Phase 2 was to study the development guidelines for using the power of school administrators. under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The target group consisted of 9 persons. The instrument used for gathering information was a semi-structured interview. Data analysis were content analysis and percentage. The research findings were: 1. The using the power of school administrators under Kalasin Primary educational service area Office 3, as a whole found at the highest level. When considering each aspect sorted by average from the highest to the lowest, including reference power, reward power, connection power, expert power, legitimate power, information power, and coercive power. 2. Comparison of using the power of school administrators under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 classified by school size was a statistically significant difference at a level of .05 and classified by work experience of school administrators were not statistically significant. 3. the development guidelines for using the power of school administrators under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 in the coercive power are summarized in the following issues: 1) The school administrators should have the knowledge and should develop about the laws, regulations, or rules., 2) The school administrators should use the power of considering the punishment, should have a process to review the details to investigating facts under regulations, rules., 3) school administrators should use the power of punishment teacher under laws, regulations, and rules., 4) when the teachers do wrong, the school administrators should use the power of investigating facts and find the cause under laws, regulations, and rules. And in information power are summarized in the following issues: 1) the school administrators should develop the power of assessment and analysis, realize the benefits and the effect of the media., 2) the school administrators should be developed about accessing important information that was a benefit to the management school., 3) the school administrators should accept the changes, develop the skill and knowledge about using information technology and regular updates., 4) the school administrators should be developed the power about information technology to plan for the management.

คำสำคัญ

การใช้อำนาจ, การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา, แนวทางการพัฒนาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา

Keyword

Using the Power, Using the Power of School Administrators, The Development Guidelines for Using the Power of School Administrators.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093