บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 301 คน จําแนกเป็นกลุ่ม ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 44 คน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ 69 คน และครูผู้สอน จำนวน 188 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำของผู้บริหาร ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.929 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.974 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่าจำแนกตามสถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน4. ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (rxy= .684) 5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงาน (X3) และภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (X2) โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 48.5 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.39477 6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงาน และภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม
Abstract
The purposes of this correlation research were to examine, compare the relationship and the predictive power, and establish guidelines for developing administrators’ leadership affecting the effectiveness of academic administration in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office Bueng Kan, as perceived by participants with different position, work experience, and school sizes. The sample group, obtained through stratified random sampling, consisted of 44 school administrators, 69 teachers in charge of academic tasks, and 188 teachers, yielding a total of 301 participants in the 2021 academic year. The research instruments included a set of questionnaires on administrators’ leadership with the reliability of 0.929 and the effectiveness of academic administration in secondary schools with the reliability of 0.974. The interview form concerning guidelines for developing administrators’ leadership affecting the effectiveness of academic administration of secondary schools was also employed. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The school administrators’ leadership and the effectiveness of academic administration in secondary schools were overall at a high level. 2. The overall leadership of school administrators, as perceived by participants with different positions, exhibited a difference at the .01 level of significance. There was no difference in terms of work experience, but when comparing school sizes overall, there was a significant difference at the .05 level of significance. 3. The effectiveness of academic administration in secondary schools, as perceived by participants with different positions, overall showed differences at the .05 level of significance. There was a difference at the .01 level of significance, but when comparing school sizes overall, there was no difference. 4. The administrators’ leadership and the effectiveness of academic administration in secondary schools overall had a positive relationship at the .01 level of significance with a medium level (rxy= .684). 5. The administrators’ leadership was able to predict the effectiveness of academic administration in secondary schools at the .01 level of significance comprising Achievement-Oriented Leadership (X3) and Participative Leadership (X2) at 48.5 percent with a standard error of estimate of ± 0.39477. 6. Guidelines for developing administrators’ leadership affecting the effectiveness of academic administration in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office Bueng Kan consisted of two aspects: Achievement-Oriented Leadership and Participative Leadership.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการKeyword
Leadership of Administrators, Effectiveness of Academic Administrationกำลังออนไลน์: 57
วันนี้: 1,297
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,496
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093