...
...
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566
หน้า: 81-91
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 237
Download: 213
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Academic Administration in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational
ผู้แต่ง
พรธิดา สำเภาทอง, ธวัชชัย ไพใหล, รัชฎาพร งอยภูธร
Author
Porntida Sampaotong, Tawatchai Pailai, Rutchadaporn Ngoiphutorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ และศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 327 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 99 คน และครูผู้สอน จำนวน 228 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก 0.53 – 0.89 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก 0.47 – 0.86 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับสูง (rxy = 0.861) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวมได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ (X5) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X2) ด้านงบประมาณ (X4) และด้านการพัฒนาบุคลากร (X1) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 75.00 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = = 0.71 + 0.23 X5 + 0.23 X2 + 0.23 X4 + 0.15 X1 และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = 0.28 ZX5 + 0.26 ZX2 + 0.28 ZX4 + 0.16 ZX1 7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านแรงจูงใจ ผู้บริหารควรมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครู ด้วยการยกย่อง ชมเชย และให้รางวัลแก่ครูที่มีผลงานดีเด่น 2) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหารควรสนับสนุนและจัดให้มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมทันสมัยต่อการปฏิบัติงาน 3) ด้านงบประมาณ ผู้บริหารควรมีการจัดสรรและบริหารจัดการงบประมาณอย่างเหมาะสม คุ้มค่า และเพียงพอ และ 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร ควรส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองตามความต้องการ

Abstract

The purposes of this research were to: examine the level, compare, identify the relationship, determine the predictive power of school administrative factors as perceived by school administrators, and teachers; and establish guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of academic administration in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 (SNK-PESAO 1). The samples, obtained through multistage random sampling, consisted of a total of 327 participants, including 99 school administrators and 228 teachers in schools under SNK-PESAO 1 in the 2021 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires on school administrative factors with the discriminative power ranging from 0.53 to 0.89, the reliability of 0.98, as well as on the effectiveness of school academic administration with the discriminative power ranging from 0.47 to 0.86 and the reliability of 0.98. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The school administrative factors were overall at a high level. 2. The effectiveness of school academic administration was overall at a high level. 3. The overall school administrative factors, as classified by position differed at the .01 level of significance and at the .05 level of significance for school sizes. Regarding work experience, there were no differences. 4. The overall effectiveness of school academic administration, as classified by position were different at the .05 level of significance and at the .01 level of significance for school sizes. Regarding work experience, there were no differences. 5. The school administrative factors and the effectiveness of school academic administration overall had a positive relationship at the .01 level of significance. 6. The four school administrative factors were able to predict the effectiveness of school academic administration at the .01 level of significance, comprising motivation (X4), information technology (X2), budget (X4) and personnel development (X1). The multi regression equation could be summarized in raw scores: Y’ = 0.71 + 0.23 X5 + 0.23 X2 + 0.23 X4 + 0.15 X1, and standardized scores: Z’ = 0.28 ZX5 + 0.26 ZX2 + 0.28 ZX4 + 0.16 ZX1 7. The guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of school academic administration involved four aspects: 1) Motivation, administrators should build morale among teachers through recognition and rewarding for outstanding performance; 2) Information Technology, administrators should support and provide appropriate and up-to-date information technology media for work performance; 3) Budget, administrators should allocate and manage the budget appropriately, cost-effectively and sufficiently; and 4) Personnel Development, teachers should be encouraged by promoting self-development training opportunities that are tailored to individual teacher needs.

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Administrative Factors, Effectiveness of Academic Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093