...
...
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566
หน้า: 32-41
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 402
Download: 282
Download PDF
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Academic Leadership of School Administrators Affecting the Effectiveness of Learning Management in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
อรรถพล ประเสริฐสังข์, เพ็ญผกา ปัญจนะ, ประภัสร สุภาสอน
Author
Autthaphon Prasoetsang, Penphaka Panjana, Prapat Supasorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 340 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน และครูผู้สอน จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.891 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.315 - 0.857 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.821 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.324 - 0.892 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t - test, One - Way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากร (X3) การบริหารหลักสูตรและการสอน (X4) การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียน (X1) และการสร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ (X2) โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ร้อยละ 66.50 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของพยากรณ์ เท่ากับ 0.33664  5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากร การบริหารหลักสูตรและการสอนการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียน และการสร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, and identify the predictive power of school administrators' academic leadership affecting the effectiveness of learning management in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 70 school administrators and 270 teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2022, yielding a total of 340 participants. The tool for data collection was a set of rating scale questionnaires with two aspects. The first aspect covered school administrators’ academic leadership with the reliability of 0.891 and the predictive power ranging from 0.315 to 0.857. The second aspect contained the effectiveness of learning management in schools with the reliability of 0.821 and the predictive power ranging from 0.324 to 0.892. The statistics for data analysis were percentage, means, and standard deviation. In hypothesis testing, t-test, One-Way ANOVA, Pearson's Product-Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis were employed. The research results were as follows:  1. The academic leadership of school administrators and the effectiveness of learning management in schools, as perceived by participants, were at a high level. 2. The overall academic leadership of school administrators and the effectiveness of learning management in schools as perceived by participants, classified by position, differed at the level of 0.01 level of significance, whereas there was no variation in terms of school sizes and work experience, 3. The academic leadership of school administrators and the effectiveness of learning management in schools, as perceived by participants, had a positive relationship at the level of 0.01 significance. 4. The four aspects of academic leadership of school administrators, including teacher and personnel quality development (X3), curriculum and instruction administration (X4), setting school vision, mission, and goals statements (X1), and creating a conducive learning atmosphere (X2), could predict the effectiveness of learning management in schools at the level of 0.01 significance with the predictive power at a 66.50 percent and a standard error of estimate of ±0.33664.  5. Guidelines for developing academic leadership of school administrators and the effectiveness of learning management in schools consisted of four aspects, including 1) teacher and personnel quality development, 2) curriculum and instruction administration, 3) setting school vision, mission, and goals statements, and 4) creating a conducive learning atmosphere.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน

Keyword

Academic Leadership, Effectiveness of Learning Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093