...
...
เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2566
หน้า: 347-357
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 469
Download: 309
Download PDF
การพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
The Development of Reading Comprehension and Writing English for Communication of 6th Grade Students Based on Communicative Language Teaching and Collaborative Learning Approach
ผู้แต่ง
สุภาวดี กาญจนเกต, สุมัทนา หาญสุริย์, จุฬาพร พลรักษ์, นาฏยาพร บุญเรือง
Author
Supawadee Kanjanakate, Sumattana Hansuri, Julaporn ponluk, Nattayabhon Boonruang

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ และ 2) เปรียบเทียบการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือกับกลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) การสุ่มเพื่อกำหนดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Random assignment) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ห้อง 6/3 และห้อง 6/2 จำนวน 32 คน และจำนวน 30 คน ตามลำดับ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับจัดการเรียนรู้กับกลุ่มทดลอง จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดการอ่านเพื่อความเข้าใจ จำนวน 20 ข้อ และแบบทดสอบวัดการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติ Dependent sample t-test, One-way MANOVA และ Univariate test ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ มีทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิด เพื่อการสื่อสารการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ มีทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were: 1) to compare reading comprehension and writing English for communication of students, between before and after learning management based on communicative language teaching and collaborative learning approach and 2) to compare reading comprehension and writing English for communication of students, between the experimental group of student learning management based on communicative language teaching and collaborative learning approach and the control group of student learning traditional approach. This research methodology was processed on experimental research with random assignment to determine the experimental group and the control group with 6th grade students in Tessaban 3 (Pinitpittayanusorn) school, Muang Nakhon Phanom District, Nakhon Phanom Province in the second semester of academic year 2022, for class 6/3, and 6/2 of 32 and 30 students, respectively. The students were obtained using cluster random sampling method. In addition, the research instruments were composed of 16 learning management plans for experimental group, the 20-item Reading comprehension Test, and the 10-item Writing English for Communication Test. Statistical analysis consisted of mean, standard deviation, Dependent sample t-test, One-way MANNOVA and Univariate test. The results showed that: 1. the experimental group of student learning management based on communicative language teaching and collaborative learning approach revealed posttest scores of reading comprehension and writing English for communicative higher than before learning at the .05 level of significance.  2. the experimental group of student learning management based on communicative language teaching and collaborative learning approach was revealed higher scores posttest of reading comprehension and writing English for communication than the control group of student learning traditional approach at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร, การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ, การอ่านเพื่อความเข้าใจ, การเขียนภาษาอังกฤษ

Keyword

Communicative Language Teaching, Collaborative Learning Approach, Reading Comprehension, Writing English for Communication

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093