...
...
เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2566
หน้า: 338-346
ประเภท: บทความวิชาการ
View: 311
Download: 208
Download PDF
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในเขตภาคเหนือ
An Academics Competency Development Model of the Principals Under the Northern Municipality
ผู้แต่ง
ภูริชัย ต่ายเกิด, สุภาพ ผู้รุ่งเรือง, วินัย ทองภูบาล
Author
Phurichai Taikert, Suphap Phoorungruang, Winai Thongpuban

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในเขตภาคเหนือ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล ในเขตภาคเหนือ และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในเขตภาคเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบประเมิน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 162 คน และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า PNImodified ผลการศึกษาพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในเขตภาคเหนือ โดยภาพรวม มีค่า PNImodified = 0.15 โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (PNImodified = 0.19) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การนิเทศการศึกษา (PNImodified = 0.12) 2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในเขตภาคเหนือ มีชื่อว่า STACK ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) องค์ประกอบหลักของรูปแบบ ประกอบด้วย (1) ประเด็นการพัฒนา ได้แก่ ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความสามารถในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ความสามารถในการเทียบโอนตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ความสามารถในการส่งเสริมให้ครูช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล และความสามารถในการประกันคุณภาพการศึกษา (2) กิจกรรมการพัฒนา ได้แก่ การศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง การให้ฝึกปฏิบัติจริง การศึกษาดูงาน การสอนงาน/พี่เลี้ยงและการประชุมเชิงปฏิบัติการ และ (3) การวัดและประเมินผลการพัฒนา 4) แนวทางในการประเมินผลรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ และ 3. การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในเขตภาคเหนือในด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเป็นไปได้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were to 1) study need of academic competency development of the principals under the northern municipality 2) create an academics competency development model of the principals under the northern municipality and 3) evaluate an academics competency development model of the principals under the northern municipality by using mixed methods research. Research Instrument used were questionnaires and assessments. The sample consisted of 162 school administrators and 9 experts. Data analyzed by mean and standard deviation and PNImodified values. The results revealed that 1. need of academic competency development of the principals under the northern municipality overall had a value of PNImodified = 0.15. the highest need was developing an educational institution curriculum (PNImodified = 0.19) and the lowest need was educational supervision. (PNImodified = 0.12) 2. an academics competency development model of the principals under the northern municipality be called STACK consists of 1) objectives of model 2) principle of model 3) main composition of model (1) development issues, such as the ability to develop an educational institution curriculum, the ability to apply local wisdom in teaching and learning, ability to transfer in accordance with the guidelines set by the ministry of education, ability to encourage teachers to assist students individually, and ability to assure educational quality (2) development activities including self-learning, practical, a field study, coaching/monitor, and workshops and (3) development measurement and evaluation 4 guidelines for model evaluation and 5) conditions for success in implementing the model and 3. evaluation of an academics competency development model of the principals under the northern municipality in terms of benefits and the possibility of the overall level is at a high level.

คำสำคัญ

การพัฒนาสมรรถนะ, การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา

Keyword

Competency Development, Academic Administration, School Administrators

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093