บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร 17 คน ครู 246 คน รวม 263 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากสูตรทาโรยามาเน่ ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และกลุ่มเป้าหมายผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบ มาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.964 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI modified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ รองลงมา คือ ด้านการมีคุณธรรมจริยธรรม และด้านการสื่อสารและการจูงใจ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือด้านการเป็นผู้นำ สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีคุณธรรมจริยธรรม รองลงมา คือ ด้านการสื่อสารและการจูงใจ และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น เรียงลำดับความต้องการจำเป็น 3 ลำดับ ได้แก่ ด้านการคิดเชิงกลยุทธ์ ด้านการเป็นผู้นำ และด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านการคิดเชิงกลยุทธ์ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของงานอย่างรอบด้าน มีการกำหนดแนวทางในการป้องกันปัญหาการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบอย่างเป็นระบบมีความคิดเชิงระบบในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางาน และมีการกำหนดแผนงานในความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม 2) ด้านการเป็นผู้นำ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ มีความสามารถนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และมีการส่งเสริมการให้กำลังใจผู้ร่วมงานในการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน และ 3) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ มีความสามารถนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และ มีการส่งเสริมการให้กำลังใจผู้ร่วมงานในการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the current situation, the desirable condition, and needs for developing competency of educational institution administrators under Khon Kaen Vocational Education and 2) to present guidelines for the development of competency of educational institution administrators under Khon Kaen Vocational Education. The sample group consisted of 17 administrators and 246 teachers, with the total number of 263 people by determining the sample size from the Taro Yamane formula with stratified method. The target group consisted of 9 experts using purposive sampling method including school administrators under Khon Kaen Vocational Education. The instruments used in the research included a 5-level rating scale questionnaire with IOC. between 0.67-1.00, reliability of 0.964 and a semi-structured interview. The statistics used in data analysis comprised frequency, percentage, mean, standard deviation PNI modified index and Content Analysis The research results were found that: 1. The current situation, in overall, was at a high level, when considered in each aspect, it was found that the aspect with the highest average value was achievement motivation, followed by morality, ethics, and communication and motivation, the least practical aspect was leadership. The desirable condition, in overall, was found that it was at the highest level, when considered in each aspect, it was found that the aspect with the highest average was morality and ethics, followed by communication and motivation and achievement motivation, the aspect with the least average was change management. The study results of needs for developing competency of educational institution administrators under Khon Kaen Vocational Education arranged were as follows: 1) Strategic thinking 2) Leadership and 3) Change Management respectively. 2. Guidelines for developing competency of educational institution administrators under Khon Kaen Vocational Education were found that the top 3 rankings were: 1) Strategic thinking consisted of 4 components, namely, a comprehensive analysis of problems and job requirements, a systematic approach for preventing operational problems in responsibilities, a systematic idea in solving problems or developing work and appropriate work plans in responsibilities. 2) Leadership consisted of 2 components, namely, the ability apply changes into concrete practice and colleague encouragement to change their performance and 3) Change management consisted of 2 components, namely, the ability to apply changes into concrete practice and colleague encouragement in performance changes.
คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น, แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ, อาชีวศึกษาKeyword
Needs, Guidelines for Competency Development, Vocational Educationกำลังออนไลน์: 69
วันนี้: 2,197
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,396
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093