บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 และ 2) หาแนวทางการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาปัญหาการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 38 คนและครู 253 คน รวมทั้งสิ้น 291 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การหาแนวทางการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.04, S.D. = 0.86) โดยด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ( =4.23, S.D. = 0.86) รองลงมา คือ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรหรือโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ( =4.19, S.D. = 0.85), ชุมชนกัลยาณมิตร ( =4.11, S.D. = 0.87), ภาวะผู้นำร่วม ( =4.06, S.D. = 0.88), วิสัยทัศน์ร่วม ( =4.82, S.D. = 0.80) และ ทีมร่วมแรงร่วมใจ และร่วมมือ ( =3.80, S.D. = 0.87) ตามลำดับ 2. แนวทางการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา ควรดำเนินการในแต่ละด้านดังต่อไปนี้ 1) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูได้ร่วมกันวิเคราะห์ ทบทวนปัญหาเพื่อวางแผนปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 2) ด้านทีมร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมมือ ผู้บริหาร และครูควรร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน กำหนดขั้นตอน และสร้างทีมที่เข้มแข็ง 3) ด้านภาวะผู้นำร่วม ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เน้นการกระจายอำนาจ 4) ด้านชุมชนกัลยาณมิตร ผู้บริหารควรมุ่งเน้นการบริหารอย่างเป็นกัลยาณมิตร เปิดโอกาสให้ครูแสดงความคิดเห็นในการบริหารสถานศึกษาได้อย่างเสรีภาพ 5) ด้านปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร หรือโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ผู้บริหารควรมุ่งเน้นความยั่งยืนแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 6) ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ผู้บริหารควรเน้นการสร้างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การสร้างนวัตกรรมและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยเทียบเคียงสถานศึกษามาตรฐานสากล
Abstract
The purposes of this research were to 1) study the problem of administration of professional learning community of school under the Nakhonsawan Primary Education Service Area Office 1 and 2) finding guidelines for the administration of professional learning community of school. The research was conducted into 2 steps: 1) studying the problem of administration of professional learning community of school under the Nakhonsawan Primary Education Service Area Office 1 with the sample were 38 administrators and 253 teachers obtained by using Krejcie & Morgan formula and simple random sampling. The instrument was 5 rating scales questionnaire with a reliability of 0.99. Data was analyzed by mean and standard deviation, 2) finding guidelines for the professional learning community of school was conducted by focus group discussion of 7 experts. The instrument was the recording form. Data was analyzed by content analysis. The research finding were as follows: 1. The problem of administration of professional learning community of school under the Nakhonsawan Primary Education Service Area Office 1 in overall are at high level ( =4.04, S.D. = 0.86). It was found that the most problematic level was learning and professional development ( =4.23, S.D. = 0.86) followed by the organizational culture modification or community support structure (=4.19, S.D. = 0.85), good friend community (=4.11, S.D. = 0.87), shared leadership status (=4.06, S.D. = 0.88), shared vision (=4.82, S.D. = 0.80) and team work cooperation and collaboration (=3.80, S.D. = 0.87), respectively. 2. the guidelines for the administration of professional learning community of school under the Nakhonsawan Primary Education Service Area Office 1 should proceed in each aspect as follows 1) shared vision, the administrator should provide opportunities for teachers to jointly analyze, review the problems for plan to change the vision of the school 2) team work cooperation and collaboration, administrator and teachers should planning implementation, set procedures together and set a strong team 3) shared leadership status, the administrator should create motivation to work, emphasis on decentralization, 4) good friend community, the administrator should emphasis on friendly management, allow teachers to freely express their opinions on school administration, 5) organizational culture modification or community support structure, the administrator should emphasis on sustainability as a professional learning community, 6) learning and professional development, the administrator should emphasis on learning construction through direct experience, innovation creation and developing professional learning community by comparing with international standard educational institutions.
คำสำคัญ
การบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพKeyword
Administration of Professional Learning Communityกำลังออนไลน์: 90
วันนี้: 2,111
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,310
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093