...
...
เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2566
หน้า: 246-255
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 366
Download: 213
Download PDF
แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
Development Guidelines for Personnel Management of the Provincial Educational Offices
ผู้แต่ง
ศยามล กองสุทธิผล, พรเทพ รู้แผน
Author
Sayamon Kongsutipon, Pornthep Rupan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาการบริหารงานบุคคล 2) นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคล วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศึกษาธิการจังหวัด และผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 108 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .982 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) นำเสนอแนวทางาการบริหารบุคคล โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานบุคคลของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดโดยภาพรวม มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ ด้านการมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ส่วนด้านที่มีปัญหาต่ำสุด คือ ด้านการวางแผนบุคลากร  ส่วนความต้องการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด โดยภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนบุคลากร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประกอบด้วย รายการปฏิบัติรวมทั้งสิ้น 24 รายการ โดยแบ่งเป็น 6 ด้าน ดังนี้  1) ด้านวางแผนบุคลากร มี 5 รายการปฏิบัติ เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด  ควรจัดประชุมทบทวนและปรับปรุงโครงการ/กิจกรรมต้องเป็นไปตามการวางแผนปฏิบัติการ เป็นประจำทุกปี 2) ด้านการสรรหาบุคลากร มี 4  รายการปฏิบัติ เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ควรมีการสรรหาบุคลากรตรงกับความต้องการ 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร มี 4 รายการปฏิบัติ เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ควรวางแผนเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ 4) ด้านการธำรงรักษาบุคลากร มี 3 รายการปฏิบัติ เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดควรจัดฝึกอบรมบุคลากรในด้านระเบียบวินัย 5) ด้านการมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงาน มี 4 รายการปฏิบัติ เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ควรมีการออกกฎระเบียบข้อบังคับ ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ 6) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน มี 4 รายการปฏิบัติ เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ควรมีการแจ้งเกณฑ์ การประเมินผลการปฏิบัติงานให้บุคลากรทราบล่วงหน้า

Abstract

The purposes of the research were: 1) to examine the problem and requirement for personnel management development; and 2) to propose the guidelines to solve the personnel management problem. The research procedure included two stages. Stage one was investigating the personnel management problem. The sample group, obtained from cluster sampling, comprised 108 provincial educational officers and director officers for personnel management subdivision under the provincial educational offices. The research instrument was a questionnaire with the reliability level at .982. Statistical analysis was conducted in terms of mean and standard deviation. Stage two was interviewing the key informants who were six experts in educational administration in order to get personnel management guidelines. The research instrument was a form of interview and descriptive analysis was performed. The results revealed as follows: 1. An overall problem found in personnel management of the provincial educational offices was at a moderate level. When considering individually, task assignment was found at the highest level, while personnel planning was the lowest. An overall requirement for personnel management of the provincial educational offices was at the highest level. In other words, personnel planning was required the highest while competency development was the lowest.  2. The development guidelines for personnel management of the provincial educational offices consisted of 24 items of practice within 6 aspects: 1) personnel planning comprised 5 items as providing a meeting to review and improve projects and activities in accordance with an annual action plan, for instance. 2) personnel recruitment comprised 4 items, for instance, recruiting qualified persons. 3) personnel development included 4 items such as planning a systematic personnel development. 4) personnel retention consisted of 3 items such as personnel training in terms of discipline. 5) Task assignment comprised 4 items, for instance, enhancing effective task performance. 6) Evaluation consisted of 4 items as providing public announcement the evaluation criteria beforehand, for instance

คำสำคัญ

แนวทางการพัฒนา, การบริหารงานบุคคล

Keyword

Development Guidelines, Personnel Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093