บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการ และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 242 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลาก จำแนกเป็นข้าราชการ จำนวน 110 คน และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย ตอนที่ 1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .612- .904 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .982 ตอนที่ 2 ประสิทธิผลโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .237- .854 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .970 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product – moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหาร และประสิทธิผลของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหาร และประสิทธิผลของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหาร จำแนกตามสถานที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสิทธิผลของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหาร และประสิทธิผลของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหาร กับประสิทธิผลของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหาร จำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ ประกอบด้วย ด้านความรู้เกี่ยวกับงาน ด้านทักษะความสามารถ และด้านคุณธรรม จริยธรรม 7. แนวทางส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารที่มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนได้เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ดังนี้ 7.1 ด้านบุคลิกภาพ 1) ผู้บริหารต้องเป็นบุคคลที่รักของบุคคลอื่นทั่วไป 2) ผู้บริหารต้องรักษาอารมณ์มองโลกในแง่ดี คิดแต่ด้านบวก 7.2. ด้านความรู้เกี่ยวกับงาน 1) ผู้บริหารต้องเป็นผู้มีความรู้ในการบริหาร 2) ผู้บริหารต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการการศึกษา 7.3 ด้านทักษะความสามารถ 1) ผู้บริหารควรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร 2) ผู้บริหารความเป็นคนช่างสังเกต รู้จักวางแผนงานเป็นระบบ
Abstract
This research aimed to explore, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish administrators’ desirable characteristics affecting the effectiveness of welfare education schools under the Special Education Bureau (SEB) in the northeast region. The sample, obtained through stratified random sampling, consisted of 242 participants, including 110 civil service officers and 132 educational personnel of welfare education schools under SEB in the northeast region in the 2018 academic year. The sample size determination was based on Krejcie and Morgan’s table. The tools for data collection included a set of 5-point rating scale questionnaires, comprising Part 1- administrators’ desirable characteristics with the discriminative power from .612 to .904 and the reliability of .982 and Part 2- the effectiveness of welfare education schools with the discriminative power from .237 to .854 and the reliability of .970, and a structured interview form. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. Administrators’ desirable characteristics and the effectiveness of welfare education schools, as a whole, were at a high level. 2. Administrators’ desirable characteristics and the effectiveness of welfare education schools, classified by participants’ positions, as a whole showed no differences. 3. Administrators’ desirable characteristics, classified by participants’ school location, as a whole showed differences at the .05 level of significance, while the overall effectiveness of welfare education schools showed no differences. 4. Administrators’ desirable characteristics and the effectiveness of welfare education schools, classified by participants’ work experience, as a whole showed no differences. 5. The relationship between administrators’ desirable characteristics and the effectiveness of welfare education schools was at the .01 level of significance. 6. Administrators’ desirable characteristics comprised three aspects that could predict the effectiveness of welfare education schools, including job-related knowledge, skills and abilities, and morality and ethics. The regression equation of raw and standardized score forms could be summarized as follows: Y’ = 1.519 + .267 (X6) + .223 (X5) + .093 (X1) Z’ = .370 (Z6) +.387 (Z5) + .146 (X1) 7. The guidelines for developing administrators’ desirable characteristics that were able to predict the effectiveness of welfare education schools involved three aspects: personality, job-related knowledge, and skills and abilities.
คำสำคัญ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหาร ประสิทธิผลโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์Keyword
Administrators’ Desirable Characteristics, Effectiveness of Welfare Education Schoolsกำลังออนไลน์: 84
วันนี้: 1,973
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,172
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093