...
...
เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2566
หน้า: 183-193
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 331
Download: 217
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The Relationship Between Academic Leadership of the School Administrators and the Effectiveness of Academic Administration in Schools Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
ธีร์ธนพัชร ร้อยดาพันธ์, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร, สายันต์ บุญใบ
Author
Theethanaphat Roidaphan, Yaovaluk Sutacort, Sayan Boonbai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 333 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 74 คน และครูผู้สอน จำนวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ด้านที่ 1 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .229 - .711 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .943 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .284 - .656 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .945  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียรสัน (Pearson’s Product-Moment Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่มีที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ต่าง ๆ ของนักเรียนเพื่อรับทราบ เข้าใจและรับรู้ถึงความต้องการของนักเรียน 4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  โดยมีความสัมพันธ์ อยู่ในระดับสูง (r = .874) 6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ 1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย ผู้บริหารต้องมีความรู้ เข้าใจในด้านการกำหนดวิสัยทัศน์และให้ความสำคัญต่อการวางเป้าหมายของสถานศึกษา 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารต้องมีความรู้ความเข้าใจ ให้คำชี้แนะ ช่วยเหลือครูได้ 3) ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ความสามารถตามความถนัดของตนเอง 4) ด้านการพัฒนานักเรียน ผู้บริหารต้องเข้าถึง ดูแล และคลุกคลี มีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ และ 5) ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ จัดสถานที่เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

Abstract

The purposes of this research aim to examine compare and examine The and establish guidelines for developing the School Administrators and the Effectiveness of Academic Administration in Schools. The sample, obtained through proportional stratified random sampling, were 74 Administrators, and 259 Teachers, yielding a total of 333 participants from under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2021. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan table and multi-stage random sampling. The research instrument for data collection was a rating scale questionnaire containing two aspects: Aspect 1: Academic Leadership of the School Administrators with discriminative power from .229-.711 and reliability .943, and Effectiveness of Academic Administration with discriminative power from .284-.656 and reliability .945 Statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for independent Samples, and One-Way ANOVA. Pearson’s Product moment correlation. The findings were as follows: 1. Academic Leadership of Educational Institution Administrators and the effectiveness of academic administration of primary schools, according to the opinions of the administrators and teachers, overall, it was at a high level. 2. Academic Leadership of Educational Institution Administrators and the effectiveness of academic administration of primary schools, according to the opinions of educational institution administrators and teachers with different positions and positions, overall, there was a statistically significant difference at the .01 3. Academic Leadership of Educational Institution Administrators and the effectiveness of academic administration of primary schools, according to the opinions of school administrators and teachers with different working experiences overall, there was a statistically significant difference at the .01 level. 4. Academic Leadership of Educational Institution Administrators and the effectiveness of academic administration of primary schools, according to the opinions of the administrators and teachers working in schools of different sizes, overall, there was a statistically significant difference at the level .05 5. Academic Leadership of Educational Institution Administrators There was a positive correlation with the effectiveness of academic administration of schools with statistical significance at the .01 level. (r = .874)  6. Guidelines for developing academic leadership of school administrators are as follows: 1) Determining the vision Mission and Goals Executives must have knowledge Understanding of setting a vision and focusing on setting goals of the school. 2) Curriculum development and teaching and learning management Administrators must have knowledge and understanding, can give advice and help teachers. 3) Teacher Professional Development Executives must encourage personnel to develop their knowledge and abilities according to their own aptitudes. 4) Student Development Executives must have access to, care for, and be involved in various activities. 5) Creating an atmosphere of learning Set up a place to facilitate learning.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Academic Leadership of the School Administrators, Effectiveness of Academic Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093