...
...
เผยแพร่: 11 ก.ค. 2562
หน้า: 215-222
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 409
Download: 189
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
Relationship between Transformational Leadership of School Administrators and School-based Administration in the School of Educational Opportunity Expansion under the ROI-ET Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
กรกต วารสิทธิ์, ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง, กฤษกนก ดวงชาทม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับระดับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ปีการศึกษา 2560 ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 177 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล

2. ระดับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการบริหารตนเอง และ ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล

3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูงกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้

Abstract

This research aimed to 1) To study the level of leadership change with the school-based management level of the school administrators 2) o study the relationship between leadership change and school-based management of school administrators in the School of Educational  Opportunity Expansion under the ROI-ET Primary Educational Service Area Office 3. The samples used in the study were teacher civil servants and educational personnel in educational opportunities expansion schools. Under the Office of Roi-Et Educational Service Area 3, academic year 2560, the sample size was determined using the table of the sample. Craig and Morgan 177 subjects were selected. The instruments used in this research were questionnaires on leadership level, change of management, using school-based educational opportunities expansion. Under the Office of Roi-Et Educational Service Area 3, the questionnaire was divided into 3 parts. Statistics used in data analysis. Using the computer program and the validity of the achievement test. Using the IOC Conformance Index formula, (Reliability) using the alpha coefficient (α - Coefficient) method of Cronbach. Average score Standard deviation, percentage, and statistic used in hypothesis testing by Pearson's product moment correlation coefficient.

The research found that.

1. Leadership Transformation of School Administrators Expansion of Educational Opportunity The Office of Roi Et Primary Education Area Office 3 was at a high level. When considering each side, it was found that. At every level. Sort by average to descending as follows. Motivational The influence of ideology. And the aspect of individuality.

2. School-based management is the base for school administrators to expand educational opportunities. Under the Office of Roi-Et Primary Education Area Office 3, the overall level was considered at a high level. The average order from the most to the least is the return of educational management power to the people. Participation Decentralization Self-management and monitoring and balance.

3. Leadership change in school administrators was positively correlated at the high level with the school-based management of the school administrators. Under the Office of Roi-Et Educational Service Area 3, the statistical significance at .01 level was consistent with the assumptions.

คำสำคัญ

ความสัมพันธ์, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

Keyword

Relationship, Transformation Leadership, School-based Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093