บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ 1) ด้านทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.777 - 0.878 2) ด้านประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.790 - 0.871 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, One-way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ขนาดของสถานศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูงมาก (rXY = 0.974) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน คือ ด้านเทคนิคด้านความคิดรวบยอด และด้านมนุษยสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 7. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนาในครั้งนี้มีจำนวน 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิค ด้านความคิดรวบยอด ด้านมนุษยสัมพันธ์
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for improving administrators’ administrative skills affecting school effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The samples were 99 administrators, and 285 teachers, yielding a total of 384 participants in the 2021 academic year. The tool for data collection was a set of questionnaires and a structured interview form. The set of questionnaires comprised two aspects: the administrative skills of school administrators with discrimination ranging from 0.777 to 0.878, and the reliability of 0.986; the school effectiveness with discrimination ranging from 0.790 to 0.871, and the reliability of 0.989. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The administrative skills of school administrators perceived by participants were overall at a high level. 2. The school effectiveness perceived by participants was overall at a high level. 3. The overall administrative skills of school administrators as perceived by participants, classified by positions, and work experience showed differences at the .05 level of significance, whereas in terms of school sizes, there were no differences. 4. The overall school effectiveness as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience showed no differences. 5. The school administrators’ administrative skills and the school effectiveness overall had a positive relationship with a very high level (rXY = 0.974) at the .01 level of significance. 6. The school administrators’ administrative skills were able to predict the school effectiveness in terms of technical skills, conceptual skills, and human relation skills at the .01 level of significance. The predictive equations could be constructed in a raw-score form and a standard-score form as below: Yt’ = 0.927+ 0.313X3 + 0.267X1+0.219X2 Zt’ = 0.355Z3 + 0.289Z1+0.287Z2 7. The school administrators’ administrative skills affecting the school effectiveness needing improvement consisted of three skills: 7.1 Technical skills included self-improvement through training and the adoption of digital technology for the benefit of administration, teamwork, participation, a systematic management structure, and guidelines for effective problem-solving.7.2 Conceptual skills included studying, comprehending, and planning for the efficient administration of all four tasks within the context of the schools. 7.3 Human relation skills included personnel participation, networking, and coordinating cooperation both inside and outside the schools.
คำสำคัญ
ทักษะการบริหาร, ประสิทธิผลของโรงเรียนKeyword
Administrative Skills, School Effectivenessกำลังออนไลน์: 15
วันนี้: 480
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,066
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093