...
...
เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2566
หน้า: 150-160
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 596
Download: 242
Download PDF
ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
The Super Leadership of Administrators Affecting the Effectiveness of School Administration Under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้แต่ง
ชรินทร์ทิพย์ วงศ์ธรรม, เพ็ญผกา ปัญจนะ, เพลินพิศ ธรรมรัตน์
Author
Charintip Wongthum, Penphaka Panjana, Ploenpit Thummarat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความภมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 337 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยแบบสอบถามภาวะผู้นำเหนือผู้นำ มีค่าอำนาจจำแนก 0.47-0.79 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก 0.37-0.81 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน  5. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy = .671**) 6. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร จำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง และด้านการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 55.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .21690 สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยในรูปคะแนนดิบ ดังนี้  Y’ = 1.708 + .443 (Xg) + .153 (Xa) และสามารถเขียนสมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้  Z’ = .634 (Zg) + .189 (Za) 7. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนและเสริมสร้างความพึงพอใจให้บุคลากรเกิดความรักความศรัทธา และผูกพันต่อองค์กร กระตุ้นให้บุคลากรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน กำหนดทิศทางและการจูงใจ มีการให้รางวัล ผลความสำเร็จ และมีการติดตามตรวจสอบ และ 2) ด้านการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นให้บุคลากรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแสดงออกให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม แนะนำบุคลากรถึงวิธีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและแนวทางปฏิบัติงานด้วยตนเอง ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และเปิดโอกาสให้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

Abstract

The purposes of this research aimed to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power of administrators’ super leadership affecting the effectiveness of school administration, and establish the guidelines for developing super leadership under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. The sample size of 337 school administrators and teachers under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon in the academic year 2021 was calculated by Krejcie and Morgan’s table and using multi-stage random sampling. The research instruments for data collection were sets of 5-rating scale questionnaires on the super leadership with the discriminative power from 0.47 to 0.79 and the reliability of 0.97, and the effectiveness of school administration with the discriminative power from 0.37 to 0.81, and the reliability of 0.96. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through a t-test for Independent Samples, One–Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The super leadership of school administrators as perceived by participants was overall at a high level. 2. The effectiveness of school administration as perceived by participants was overall at a high level.  3. The super leadership of school administrators, as perceived by participants, classified by different positions, school sizes, and work experience showed no differences. 4. The effectiveness of school administration, as perceived by participants, classified by different positions, school sizes, and work experience showed no differences.  5. The super leadership of school administrators had a positive relationship with the effectiveness of school administration with the .01 level of significance at a high level (rxy = .671). 6. The two aspects of the super leadership of school administrators consisted of Facilitating Self-Leadership Culture and Promoting Personnel’s Self-Leaders could explain the effectiveness of school administration under the Secondary Education Service Area Office Sakon Nakhon with the predictive power of 55.10 percent and the standard error of estimate of ± .21690. The multiple regression analysis equations could be written in the raw and standardized scores as follows: Y’ = 1.708 + .443 (Xg) + .153 (Xa) Z’ = .634 (Zg) + .189 (Za) 7. The proposed guidelines for developing school administrators’ super leadership affecting the effectiveness of school administration involved three aspects needing improvement: 1) Facilitating Self-Leadership Culture. School administrators should support and encourage personnel’s satisfaction to foster love, faith, and commitment to the organization, stimulate personnel to build a good relationship and create a work environment that is conducive to performance, provide direction and motivation, recognize achievements, and provide monitoring and inspection; and 2) Promoting Personnel’s Self-Leaders. School administrators should support, promote, and encourage personnel in changing their behaviors and expressions in the proper direction, offer personnel advice on how to set visions, objectives, and guidelines, promote personnel to learn about performance, and create opportunities for creativity.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ, ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน

Keyword

Super Leadership, Effectiveness of School Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093