...
...
เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2566
หน้า: 141-149
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 288
Download: 250
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Learning Resources Management in Schools under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3
ผู้แต่ง
กรกนก พุดน้อย, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ระภีพรรณ ร้อยพิลา
Author
Kornkanok Putnoi, Sawat Photiwat, Rapeepan Roypila

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนมี 3) วิเคราะห์ปัจจัยทางการบริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและ 4) ศึกษาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 318 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 91 คน และครูผู้สอน 227 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เป็นแบบสอบถามข้อมูลการรับรู้เกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .468 ถึง .930 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.972 และแบบสอบถามข้อมูลการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .607 ถึง .923 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้น ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยทางการบริหารการรับรู้ของบุคลากรในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก (rxy= .788) 3. ปัจจัยทางการบริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน มี 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายและการปฏิบัติ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านกระบวนการบริหาร และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมได้ร้อยละ 62.50 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±0.20087 4. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน มี 4 ด้าน ดังนี้คือ 1) ด้านนโยบายและการปฏิบัติ ควรกำหนดวิสัยทัศน์ แนวปฏิบัติหรือเป้าหมายการบริหารชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน 2) ด้านโครงสร้างองค์การ ควรมีสายการบังคับบัญชามีการกำหนดบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานความรับผิดชอบบุคลากรให้ชัดเจน 3)ด้านกระบวนการบริหารผู้บริหารต้องมีแผนปฏิบัติงาน กำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดกิจกรรม โครงการ เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการ จัดการศึกษาของโรงเรียนและ 4) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ในการบริหารงาน มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา ตัดสินใจได้เหมาะสมกับสถานการณ์

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the level of administrative factors and the effectiveness of learning resources management in schools; 2) to analyze the relationship between administrative factors and the effectiveness of learning resources management in schools; 3) to analyze the administrative factors that provided good predictors of the effectiveness of learning resources management in schools, and 4) examine guidelines for developing administrative factors that were good predictors of the effectiveness of learning resources management in schools. The sample group, obtained through stratified random sampling, consisted of 318 personnel, comprising 91 administrators and 227 teachers, who worked in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 in the academic year 2020. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s table. Data collection tools included sets of 5-rating scale questionnaires on the perceived administrative factors with the discriminative power from .468 to .930 and the reliability of 0.972, and the perceived learning resources management in schools with the discriminative power from .607 to .923, and the reliability of 0.976, and in-depth interview forms. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product-moment correlation coefficient, t-test, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows:  1. The administrative factors were overall at a high level, and the effectiveness of learning resources management in schools was overall at the highest level. 2. The administrative factors and the effectiveness of learning resources management in schools, overall had a positive relationship at a high level (Rxy = .788) with the .01 level of significance. 3. The administrative factors that were good predictors of the effectiveness of learning resource management in schools comprised four aspects: Policy and Practice, Organizational Structure, Administrative Process, and Administrators’ Leadership. The variables with the best predictive power were Policy and Practice with a regression coefficient of .404, and Administrators’ Leadership, and could jointly predict the effectiveness of learning resource management in schools overall at 62.50 percent with a standard error of estimate of ±0.20087. 4. The guidelines for developing administrative factors that were good predictors of the effectiveness of learning resources management in schools included four aspects as follows: 1) Policy and Practice. Administrators should establish specific visions, performance standards, or goals based on the school context; 2) Organizational Structure. Administrators should have a chain of command and well-defined performance roles and responsibilities for personnel; 3) Administrative Process. Administrators must have an action plan, and define visions, activities, and projects to achieve educational management in schools, and 4) Administrators’ Leadership. Administrators should have visions in administration, problem-solving abilities, and make decisions that are appropriate for the circumstances.

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้

Keyword

Administrative Factors, Effectiveness of Learning Resources Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093