บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร และหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปรถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 339 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 75 คน และครูผู้สอน จำนวน 264 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของ Krejcie & Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.346 - 0.854 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีการทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. เปรียบเทียบทักษะทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จําแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน 4. เปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จําแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน 5. ทักษะทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ได้โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการศึกษาและการสอน (X4) และทักษะด้านเทคนิค (X1) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านความคิดรวบยอด (X3) โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 42.60 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.15 6. แนวทางการพัฒนาทักษะทางการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู คือผู้บริหารควรพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการนิเทศการดำเนินงาน มีเทคนิคด้านการสื่อสารที่ดีในสร้างแรงจูงใจ สร้างการมีส่วนร่วมในการวางแผน รู้และเข้าใจสมรรถนะในบทบาทหน้าที่ของครูและภาพรวมขององค์กร
Abstract
The research objectives were to investigate and compare the predictive power of school administrators' administrative skills affecting the performance effectiveness according to teachers’ functional competencies in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, and to establish guidelines for improving school administrators’ skills. The sample group consisted of 339 people, including 75 school administrators and 264 teachers working in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in the 2021 semester. The instruments for data collection comprised sets of 5-level rating scale questionnaires on school administrators’ administrative skills with the reliability of .979 and the performance effectiveness of teachers’ functional competencies with the reliability of .957. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test Independent Samples, One-Way ANOVA, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The school administrators’ administrative skills were overall at a high level. 2. The performance effectiveness of teachers’ functional competencies was overall at a high level. 3. The school administrators’ administrative skills as perceived by participants classifying by positions, school sizes, and work experience revealed no differences overall and in each aspect. 4. The performance effectiveness according to teachers’ functional competencies as perceived by participants classifying by positions, school sizes, and work experience showed no differences overall and in each aspect. 5. The research examined five aspects of school administrators' administrative skills and discovered that three of them had the predictive power on the performance effectiveness of teachers' functional competencies. Two aspects, educational and instructional skills (X4) and technical skills (X1), were achieved at the .01 level of significance. Only one factor, conceptual skills (X3), was found at the .05 level of significance, with the predictive power of 42.60 percent and the standard error of the estimate of ±0.156. 6. The guidelines for improving school administrators’ administrative skills affecting the performance effectiveness according to the teachers’ functional competencies were: 6.1 Educational and instructional skills, school administrators should constantly strive to improve themselves, establish clear policies, and provide instructional supervision. 6.2 Technical skills, school administrators should have good communication skills to motivate and create teachers’ participation in work planning and implementation systematically to improve learners and teachers. 6.3 Conceptual skills, school administrators should formulate the goals, improve their knowledge and understanding in terms of teachers’ competencies, demonstrate communication skills as leaders, as well as provide guidance on teachers’ competencies to school personnel.
คำสำคัญ
ทักษะทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, สมรรถนะประจำสายงานของครูKeyword
School Administrators’ Administrative Skills, Performance Effectiveness, Teachers’ Functional Competenciesกำลังออนไลน์: 89
วันนี้: 1,882
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,081
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093