...
...
เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2566
หน้า: 104-111
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 349
Download: 232
Download PDF
ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
Digital Leadership for Professional Administrators of Schools in Muang District under Prachuap Khiri Khan Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
ลลิตา จิ๋วโต, พิภพ วชังเงิน
Author
Lalita Jiewto, Pipob vachungngern

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และเพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยจำแนกตามขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ทั้งหมด 182 คน โดยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนตามขนาดของโรงเรียนจากนั้นใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .959 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการสร้างโอกาสและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการสื่อสาร 2. ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า มีความแตกต่างกันทางนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Abstract

This study was survey research. Its purpose was to investigate the digital leadership for professional administrators of schools in Muang District under Prachuap Khiri Khan primary educational service area office 1 and to compare the digital leadership for professional administrators of schools in Muang District under Prachuap Khiri Khan primary educational service area office 1 were classified by sizes of schools. The sample group is 182 teachers obtained through Stratified sampling and Simple random sampling. The research instrument was a rating-scaled questionnaire with an index of item objective congruence (IOC) of 0.67-1.00 and a reliability of 0.980. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA. The research results were: 1. The digital leadership for professional administrators of schools in Muang District under Prachuap Khiri Khan primary educational service area office 1 was at a high level. The highest average of the digital leadership was the making of digital opportunity and the lowest average of the digital leadership was the digital communication. 2. The digital leadership for professional administrators of schools in Muang District under Prachuap Khiri Khan primary educational service area office 1 that classified by sizes of schools were different at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล, ผู้บริหารมืออาชีพ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Keyword

Digital Leadership, Professional Administrators, Primary Educational Service Area Office

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093