บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญ 2) พัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญ และ 3) ศึกษาผลการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญ โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบนิเทศติดตาม และแบบสอบถาม การหาคุณภาพของเครื่องมือใช้วิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับจุดประสงค์ (Index of Item – Objective Congruence หรือ IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แล้วนำเสนอผลวิจัยโดยใช้วิธีการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษายังขาดการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม การสร้างความร่วมมือ การพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าในการบริหารจัดการ การประสานงานทั้งภายในและภายนอก รูปแบบการนิเทศ กำกับติดตามที่ชัดเจน ครูและบุคลากรมีภาระงานมากทำให้ไม่สามารถพัฒนาแหล่งเรียนรู้ได้ 2. การพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญ สถานศึกษาใช้กระบวนการบริหาร POCCC มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญ ประกอบด้วย 1) การวางแผน (P : Planning) 2) การจัดองค์กร (O : Organizing) 3) การบังคับบัญชาสั่งการ (C : Command) 4) การประสานงาน (C : Coordination) 5) การควบคุม (C : Control) 3. ผลการศึกษาการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญพบว่า 1) ผลความพึงพอใจในการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการประสานงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.56 รองลงมาคือด้านการจัดองค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ตามลำดับ 2) คุณภาพของแหล่งเรียนรู้ชุมชนมอญในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการตรงตามความต้องการของนักเรียนและชุมชนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.80 รองลงมาคือ ด้านความพร้อมและการบรูณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและด้านรูปแบบและความเหมาะสมในการบริหารแหล่งเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 และด้านการนำไปบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ตามลำดับ
Abstract
This Research proposed 1) To study about problem condition(s) of Mon Community Learning Source, 2) To develop for administration of Mon Community Learning Source, and 3) To study of the result(s) of the development administration of Mon Community Learning Source. by using of the Action Research. The instruments used for data collection consist of the meeting record for workshop, interview questions, in-depth interview, supervision, and questionnaire. The Index of Item- Objective Congruence: IOC by the specialist (s) was used for the assessment of research tools. Percentage, Mean, and Standard Deviation were used for quantitative data analysis. Qualitative data were used for the content analysis as well. By the way, the Descriptive Essay was the method of the research presentation. The results of this research concluded that; 1. the lack of participative management, cooperation, development, promotion and support of the education personnel to have knowledge and understanding in management, coordination both internally and externally, as well as clear and follow-up supervision form were the problem conditions of this school Learning Source. Moreover, teachers and staffs have a lot of workload, making them unable to develop Learning Sources. 2. The development administration of Mon Community Learning Source; this school used the POCCC administration process as a guideline for developing the administration of Learning Sources in the Mon community, consisting of P: Planning, O: Organizing, C: Command, C: Coordination, and C: Control. 3. The results of the development administration of Mon Community Learning Source were found that 1) The overall satisfaction result in the development of Learning Sources management in the Mon community was at a high level. The coordination aspect had the highest average of 4.56, followed by organizational arrangement with an average of 4.30 and the mean of planning was 4.23, respectively. 2) The quality of Learning Sources in the Mon community as a whole was at the highest level. In terms of meeting the needs of students and communities, the average was 4.80, followed by the readiness and integration of the philosophy of sufficiency economy. The form and appropriateness of school management; the mean was 4.77, and the aspect of integration in learning activities; teaching averages were 4.76, respectively.
คำสำคัญ
ผลการพัฒนาการบริหารจัดการ, แหล่งเรียนรู้, ชุมชนมอญKeyword
Management development, Learning center, Mon communityกำลังออนไลน์: 83
วันนี้: 2,005
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,204
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093