บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 132 คน ระยะที่ 2 แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน 1) ศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ (Best Practice) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 21 คน 2) การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. แนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย มาตรฐานที่ 1 ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีแนวทางการดำเนินงานคือ วางแผนร่วมกันระหว่างผู้บริหารบุคลากรในศูนย์ฯและผู้ปกครองในการจัดทำแผนพัฒนาศูนย์ฯ กำหนดเป้าหมาย และจัดลำดับความสำคัญของแผนพัฒนาศูนย์ฯไว้ชัดเจน จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานประจำปีของศูนย์ฯไว้อย่างชัดเจน จัดประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็กมีการพัฒนาครบทั้ง 4 ด้าน เหมาะสมกับวัยและศักยภาพของเด็ก รับการอุดหนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินรายได้ของสถานศึกษาไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ดำเนินการจัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์การเรียนและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามวิธีการดำเนินการที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด มีคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและการจัดทำระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าด้วยการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มาตรฐานที่ 2 ด้านบุคลากร มีแนวทางการดำเนินงานคือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคุณสมบัติ เฉพาะตำแหน่งตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จัดทำระบบประกันคุณภาพภายในและรายงานประเมินตนเอง บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านดูแลเด็กมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตรงตามมาตรฐานกำหนด จัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการประเมินพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการ มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน และจัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผล มีแผนการจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมตามนโยบายและแผนการจัดการศึกษาท้องถิ่นบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งบุคลากรไปอบรมในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะประสบการณ์ รวมทั้งการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น และดำเนินงานด้านบุคลากรต้องมีความโปร่งใส มาตรฐานที่ 3 ด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มีแนวทางการดำเนินงาน คือ สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่มีขนาดเหมาะสมและไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตราย มีมาตรการป้องกันอุบัติเหตุอุบัติภัยและอัคคีภัย ที่อาจเกิดขึ้นในตัวอาคารศูนย์ มีประตูหน้าต่างที่มั่นคงแข็งแรง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี จัดบริเวณพื้นที่ในอาคารที่สะอาดปลอดภัยและเพียงพอ การจัดห้องเป็นสัดส่วน มีบริเวณพื้นที่สำหรับการนอนสะอาดอากาศถ่ายเทได้สะดวกปลอดโปร่ง มีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการปฐมพยาบาล ติดประจำไว้ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของส่วนราชการต่างๆ ไว้ติดต่อได้อย่างทันท่วงที มีแผนและแนวทางปฏิบัติกรณีเด็กมีเหตุฉุกเฉิน จัดให้มีการประกวดศูนย์ดีเด่น ศูนย์ปลอดโรค การตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับปรับปรุง อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารให้ร่มรื่น มาตรฐานที่ 4 ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร มีแนวทางการดำเนินงาน คือจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและมีการประเมินตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษา การดูแลหลักสูตรให้คลอบคุมทั้งเนื้อหา ตลอดจนการจัดกิจกรรมประจำและกิจกรรมจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข มีการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลของเด็กเป็นรายบุคคล จัดประสบการณ์ให้เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามช่วงอายุของเด็ก มีการบูรณาการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 ให้สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีสื่อและนวัตกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพียงพอและหลากหลาย การวัดและประเมินผลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเพิ่มทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มาตรฐานที่ 5 ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน มีแนวทางการดำเนินงาน คือ จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯเป็นประจำ สำรวจความคิดเห็นจากชุมขน และผู้ปกครอง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่บกพร่อง ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์ฯให้ชุมชน ท้องถิ่นทราบ รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากประชาชน ร่วมมือจากชุมชนในการร่วมคิดร่วมวางแผนร่วมปฏิบัติ จัดประชุมผู้ปกครองอย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง จัดกิจกรรมต่างๆขึ้นอยู่เสมอและให้เชิญทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมและมาตรฐานที่ 6 ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีแนวทางการดำเนินงาน คือ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดประชุมหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแลเด็ก ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดแผนความร่วมมือในการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเครือข่ายศูนย์ จัดทำแผนงานความร่วมมือในการดำเนินงานของศูนย์ ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานพัฒนาเครือข่ายมีการประเมินผลการพัฒนาเครือข่าย การส่งเสริมความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานด้านพัฒนาเด็กเล็ก เปิดโอกาสให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์และมีผู้รับผิดชอบการดำเนินงานเครือข่ายตามแผนปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
Abstract
The development of guidelines for the implementation of the Child Development Center. Under the Local Government Mahasarakham Aims to 1) to study the current state and the desired state of operation of the Child Development Center. Under the local government in Mahasarakham. 2) to develop guidelines for the implementation of the Child Development Center. Under the local government in Mahasarakham. The sample consists of Phase 2 of the five specialists involved with the Child Development Center, 132 people. Phase 2 of five experts. The research consisted of questionnaires, interviews and observation. Statistical analysis of data using mean and standard deviation. And content analysis.
The research found that.
1. Current status of implementation of the Child Development Center standards. Local government organization in Mahasarakham province. The overall level is moderate. Desirable condition, implementation, standards, child development center Local government organization in Mahasarakham province. Overall at the highest level.
2. Guidelines for the implementation of the Child Development Center. Under the local government in Mahasarakham Composed of standard 1 management of child development center. There is a guideline for providing support services to children in various areas. There is a committee of the Child Development Center in accordance with the regulations of the Ministry of Interior on the criteria and methods of using the revenues of educational institutions to allocate to management expenses. Study of local government organization, 2008. Standard 2: Personnel have operational guidelines. Heads of Child Development Centers are qualified to meet the standards set by the Department of Local Administration. The curriculum is developed and developed for early childhood education and supervision. The learning experience of the child care teacher / caregiver Internal quality assurance and self-assessment reports are developed. Child care workers have specific qualifications that meet the standards of placement. Department of Local Administration Promotion and Activities To develop learners with desirable features and age features. Standard 3: Building, premises, environment and safety. There is a guideline for the operation of the child development center, located in a suitable area and not in a hazardous area. First aid room There are first aid supplies, medicine cabinets, necessary medical supplies, and while in the first aid room, the child must be in the care of the child care provider at all times. There are plans and guidelines for emergency children to take immediate action. Standard 4: Academic and Curriculum Activities There is a guideline for implementing the learning experience using the Early Childhood Education as a guideline for the experience. And provide a learning experience to maintain a high standard of living and happiness. Measurements and evaluations are in accordance with the rules, and measured and evaluated periodically. Standard 5: Participation and support from all sectors. There is a guideline for organizing regular meetings of the Child Development Committee at least once a week. The community participates in the coordinating action plan for the development of the Child Development Center. And standard 6: for promoting early childhood development networks. The guideline is to develop a cooperation plan for the implementation of the Child Development Center. Appointed Board of Directors to operate the Child Development Center Network. Encourage staff in child development centers to progress in their profession and morale, and to establish a network of early childhood development at various levels.
คำสำคัญ
การพัฒนาแนวทาง, มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำลังออนไลน์: 102
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,426
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,625
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093