บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน 3) ศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู 4) เปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 5) หาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู 6) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู 7) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 1 จำนวน 331 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 75 คน และครูผู้สอน จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .779 - .945 และมีค่าความเชื่อมั่น .994 ตอนที่ 2 การปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .799 - .995 และมีค่าความเชื่อมั่น .994 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA) ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดแตกต่างกัน และที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ด้านส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ มีทักษะในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร มีการกำหนดพันธกิจและเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่หลักหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง และผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายของครู ได้ร้อยละ 87.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.22204 6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และความริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน 2) มีการกำหนดพันธกิจ และเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน 3) มีทักษะในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร 4) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 6) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง คือ ผู้บริหารต้องก้าวทันเทคโนโลยี ศึกษาพัฒนาตนเองให้รู้ให้เป็น ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเอง
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power of instructional leadership of school administrators affecting performance effectiveness of teacher functional competency and establish guidelines for developing instructional leadership of school administrators. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 75 school administrators and 264 teachers, yielding a total of 331 participants working under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The Krejcie & Morgan table was also applied for determining the sample size. The tools for data collection were two sets of 5-point scale questionnaires, comprising a set on instructional leadership of school administrators with the discriminative power values ranging from .779 to .945 and the reliability of .994, and a set on the performance effectiveness of teacher functional competency with the discriminative power values ranging from .799 to .995 and the reliability of .994, and a structured interview form on guidelines for developing instructional leadership of school administrators. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis The findings were as follows: 1. The instructional leadership of school administrators was overall at a high level. 2. The performance effectiveness of teacher functional competency was overall at a high level. 3. The comparison results revealed that the instructional leadership of school administrators, classified by participants’ positions, showed no difference overall. In terms of school sizes and work experience, overall, there was a significant difference at the .01 level of significance. 4. The comparison results revealed that the performance effectiveness of teacher functional competency, classified by participants’ positions, showed no difference overall. In terms of school sizes and work experience, overall, there was a significant difference at the .01 level. 5. The instructional leadership of school administrators and the performance effectiveness of teacher functional competency had a positive relationship at the highest level (rxy=.930) with the .01 level of significance. 6. The six aspects of instructional leadership of school administrators, could predict the performance effectiveness of teacher functional competency at the .01 level of significance with the predictive power of 87.90 percent and the standard error of estimate of ±.2204. 7. The proposed guidelines for developing instructional leadership in school administrators contained six aspects: visions and creative thinking focusing on student development, formulating teaching and learning management missions and goals, curriculum development skills, supporting various learning management strategies using a learner-centered approach, encouraging and supporting teachers to produce and develop innovative instructional media, and using information technology for authentic measurement and evaluation.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนKeyword
Instructional Leadership, Teacher Functional Competencyกำลังออนไลน์: 84
วันนี้: 1,973
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,172
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093