บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ระดับการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครปฐม จำนวน 160 แห่ง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหา เท่ากับ 0.67 - 1.00 ค่าความเที่ยงด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เท่ากับ 0.99 และด้านการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย การทำงานเป็นทีมแบบรวมพลังร่วมมือ ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน การจัดการความรู้ การประยุกต์ใช้ความรู้ การเรียนรู้ร่วมกัน การมีค่านิยม และวิสัยทัศน์ร่วม ตามลำดับ 2. ระดับการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้านประกอบด้วย วิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร อาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การมีส่วนร่วมและส่งเสริมสนับสนุนบุคลากร และส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามลำดับ 3. การบริหารเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การทำงานเป็นทีมแบบรวมพลังร่วมมือ (X5) การเรียนรู้ร่วมกัน (X1) และการจัดการความรู้ (X7) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 76.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y tot = 0.81 + 0.35 (X5) + 0.25 (X1) + 0.23 (X7)
Abstract
This research aimed to: 1) study the level of administrators’ power usage; 2) study the level of teachers’ morale; and 3) analyze the administrators’ power usage affecting teachers’ morale in educational institutions under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample was 275 teachers in educational institutions under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, derived by proportional stratified random sampling as distributed by district. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher with the content validity between 0.67-1.00. The internal consistency reliability coefficients for the administrators’ power usage and the teachers’ morale were 0.98. Data were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression. The research results were as follows: 1. Overall and in specific aspects, the administrators’ power usage was at a high level. The aspects were referent power, coercive power, expert power, legitimate power, and reward power, respectively. 2. Overall, the teachers’ morale was at a high level and in specific aspects was at a highest level and high level. The aspects were welfare and job security, success and work achievement, working condition, organization relationship, and policy and administration, respectively. 3. The administrators’ power usage in the aspects of legitimate power (X3), reward power (X2), coercive power (X1) and expert power (X4) together predicted the affecting teachers’ morale at the percentage of 61.20 with statistical significance level of .01. The regression equation was Y tot = 1.72 + 0.25 (X3) + 0.14 (X2) + 0.13 (X1) + 0.11 (X4).
คำสำคัญ
การบริหารเชิงกลยุทธ์, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นKeyword
Administrator’s Power, Teacher’s Morale, Primary Educationกำลังออนไลน์: 15
วันนี้: 477
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,063
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093