บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ คือ ข้าราชครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำนวน 322 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวม และรายด้าน ประกอบด้วย การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ การกระตุ้นทางปัญญา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ 2. ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ความคิดเชิงระบบอยู่ในลำดับสูงสุด การมีวิสัยทัศน์ร่วม ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิด และการเรียนรู้เป็นทีม ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การกระตุ้นทางปัญญา (X3) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (X4) และการสร้างแรงบันดาลใจ (X2) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 61.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y tot = 1.51 + 0.28 (X3) + 0.19 (X4) + 0.18 (X2)
Abstract
This research aimed to study: 1) the level of school administrators’ transformational leadership; 2) the level of school’ learning organization; and 3) the school administrators’ transformational leadership affecting learning organization of school. The sample was 302 teachers under the Secondary Educational Service Area Office Kanchanaburi, derived by proportional stratified random sampling as distributed by district. The instrument was a questionnaire constructed by the researcher. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression. The research results were as follows: 1. Overall and in specific aspects, the school administrators' transformational leadership was at a high level. The idealized influence or leadership, high-level intellectual stimulation, individualized consideration, and inspiration motivation, respectively. 2. Overall and in specific aspects, the school’ learning organization was at a high level. The systems thinking, shared vision, personal mastery, mental model, and team learning, respectively. 3. The school administrator’s transformational leadership in the intellectual stimulation (X3), individualized consideration (X4), inspiration motivation (X2) together predicted the school’ learning organization at the percentage of 61.50 with statistical significance level of .01. The regression equation was Y tot = 1.51 + 0.28 (X3) + 0.19 (X4) + 0.18 (X2).
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, องค์กรแห่งการเรียนรู้, มัธยมศึกษาKeyword
Transformational Leadership, Learning Organization, Secondary Educationalกำลังออนไลน์: 89
วันนี้: 1,912
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,111
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093