บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภาษาถิ่นอีสานใต้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และ 3) พัฒนาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภาษาถิ่นอีสานใต้ จังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาหลักสูตรภาษาถิ่นอีสานใต้ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภาษาถิ่นอีสานใต้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ผู้บริหารสถานศึกษา 44 คน ครูผู้สอน 286 คน รวมทั้งสิ้น 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 3 การศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภาษาถิ่นอีสานใต้ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้ให้ข้อมูลรวม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และประเมินความเมาะสมความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของการพัฒนาหลักสูตรภาษาถิ่นอีสานใต้ของสถานศึกษา ที่จะใช้ในการวิจัย 6 ขั้นตอน ดังนี้ การจัดตั้งคณะทำงาน การวินิจฉัยความต้องการ/สำรวจสภาพปัญหา การกำหนดจุดประสงค์/จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน การเลือกเนื้อหาสาระจัดทำโครงสร้างหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตร
2. สภาพปัจจุบันการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภาษาถิ่นอีสานใต้ จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ การวินิจฉัยความต้องการ/สำรวจสภาพปัญหา การเลือกเนื้อหาสาระจัดทำโครงสร้างหลักสูตรการกำหนดจุดประสงค์/จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน การจัดตั้งคณะทำงาน การนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตร
สภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภาษาถิ่นอีสานใต้ จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประเมินหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การเลือกเนื้อหาสาระจัดทำโครงสร้างหลักสูตร การกำหนดจุดประสงค์/จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน การวินิจฉัยความต้องการ/สำรวจสภาพปัญหา และการจัดตั้งคณะทำงาน
3. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภาษาถิ่นอีสานใต้ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
This research aimed to 1) study the components of curriculum development 2) current and desirable situation, 3) The Guideline Development for School Curriculum Development of South Isaan Dialect in Sisaket Province. This research was divided into 3 periods. The first period was a study the components of curriculum development. Informants included 5 educational experts. Phase 2 Study of current conditions and desirable conditions. The sample consisted of 44 school administrators, 286 teachers and 330 persons. Stage 3: Curriculum Development of South Isaan Dialect in Sisaket Province. Informants included 5 educational experts.
This research found the following results.
1. Elements of Curriculum Development of South Isaan Dialect in Sisaket Province. To be used in the research 6 steps as follows. Diagnosing needs / exploring problematic Clear purpose / purpose Content selection, curriculum design. Implementing curriculum in curriculum and curriculum assessment.
2. The present condition of the Curriculum Development of South Isaan Dialect in Sisaket Province.Was at a moderate level. Sort the average scores from descending to Diagnosing needs / exploring problematic Content selection, curriculum design. Clear purpose / purpose Establishment of working group implementing curriculum in curriculum and curriculum assessment.
Desirable condition of the Curriculum Development of South Isaan Dialect in Sisaket Province. Overall at the highest level. Sort the average score from over Find the least. Implementing the curriculum The teaching and learning Selection of content Curriculum structure Clear purpose / purpose Diagnosing needs / exploring problematic And the establishment of a working group
3. The Guideline Development for School Curriculum Development of South Isaan Dialect in Sisaket Province. It was found that the appropriateness of the experts have the opinion that overall. It is most appropriate and feasible.Experts have the opinion that overall there is a possibility at the level most.
คำสำคัญ
การพัฒนาแนวทาง, การพัฒนาหลักสูตร, ภาษาถิ่นอีสานใต้Keyword
development of guidelines, curriculum development, South Isaan Dialectกำลังออนไลน์: 82
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,585
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,784
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093