...
...
เผยแพร่: 11 ก.ค. 2562
หน้า: 114-123
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 397
Download: 192
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
The development of Teacher’s Competence to Improve Student’s Discipline in Anubansasanasitamnauy School under The Office of Bungkan primary Service Area
ผู้แต่ง
ณัฐพร ฝ่ายขันธ์, ธวัชชัย ไพใหล, วีระวัฒน์ ดวงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการดำเนินงานทางด้านวินัยนักเรียน 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน และ 3) ติดตามผลในการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างการมีวินัยนักเรียน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 19 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 123 คนและกลุ่มผู้นิเทศ จำนวน 3 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติการ 3) การสังเกตการณ์ 4) การสะท้อนกลับ ดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละความก้าวหน้า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาการดำเนินงานการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย ดังนี้

1.1 สภาพการดำเนินงานการเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อส่วนรวมของนักเรียน พบว่า การจัดการเรียนรู้ในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน ยังไม่เป็นระบบและต่อเนื่อง นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีวินัย ไม่เชื่อฟังครู นักเรียนขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม ขาดจิตสาธารณะ และไม่เน้นเรื่องวินัยนักเรียนทั้งด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อส่วนรวมของนักเรียนเท่าที่ควร

1.2 ปัญหาการดำเนินงานการเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อส่วนรวมของนักเรียน พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานทางวินัย บุคลากรไม่มีความรู้ ครูไม่มีทักษะในการจัดทำสื่อวัสดุ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมทางวินัยนักเรียน จึงส่งผลให้นักเรียนขาดวินัยทั้งด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อส่วนรวม

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย ได้แก่ 2.1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2.2) การดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน 2.3) การนิเทศภายใน

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย

3.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} =4.28)

3.2 ผลการพัฒนาเกี่ยวกับความพึงพอใจในพฤติกรรมวินัยของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย (สำหรับผู้ปกครอง) โดยรวมพบว่า ในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x} =2.59)  ในวงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x} =4.15)  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 64.73 สำหรับผู้ร่วมวิจัย โดยรวมพบว่า ในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x} =2.69)  ในวงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x} =4.17)  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 64.07

3.3 ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน พบว่า ความรู้ ความเข้าใจของครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย ในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x}=2.56)  ในวงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x} =4.23)  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 68.44

3.4 การนิเทศภายในการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย โดยรวมพบว่าในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (\bar{x} =1.94)  ในวงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x} =4.28)  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 76.47

Abstract

The purposes of this research were to: 1) study the condition and problems of teachers in student discipline; 2) find ways to develop teachers' potential for student discipline; and 3) follow up on their development. Potential teachers in enhancing student discipline. The target group consisted of 19 co-researchers, 123 informants, and three supervisors. This participatory action research employed the two spirals of four stages: planning, action, observation, and reflection. The research instruments comprised interview forms, observation forms, assessment forms. The qualitative data were analyzed through percentage, mean, standard deviation, percentage progress. In case of quantitative data, percentage, mean and standard deviation were applied. Content analysis was employed to analyze qualitative data.

The findings were as follows:

1. The conditions and problems concerning the implementation of student discipline enhancement in Anubansasanasitamnauy School revealed that:

1.1. The operating conditions on student discipline enhancement in terms of self and social responsibility were found that the learning management on student discipline enhancement was not yet systematic and continuous. Consequently, most students lacked self-discipline, self and social responsibility and public-mindedness. The students also demonstrated disrespectful behaviors toward teachers. In addition, teachers did not pay enough attention to students’ discipline in terms of self and social responsibility. 

1.2 The problems of operating the student discipline enhancement in terms of self and social responsibility indicated that the teachers and school staff faced a lack of knowledge and understanding on disciplinary operation. In addition, the teachers had limited skills in producing media and innovative for disciplinary enhancement activities. Consequently, the students ‘lack of self and social responsibility was found.

2. The proposed guidelines for developing teachers' potentiality concerning student discipline enhancement involved: 2.1) a training workshop, 2.2) the implementation of teacher potentiality development on student discipline enhancement, and 2.3) an internal supervision.

3. The effects after the intervention were:

3.1 After the training workshop, the co-researchers reported their satisfaction toward the training Workshop as a whole at a high level (\bar{x} =4.28) .

3.2 The effects after the intervention based on parents’ satisfaction as a whole in the first spiral were at a moderate level (\bar{x} =2.59) , whereas in the second spiral level of satisfaction was at a high level (\bar{x}=4.15)  with the average progress rate of 64.73.The mean scores of the co-researchers’ satisfaction as a whole in the first spiral was at a moderate level (\bar{x} =2.69) , whereas in the second spiral found a high level (\bar{x} =4.17) of satisfaction with the average progress rate of 64.07.

3.3 The effects after the teachers’ potentiality development on student discipline enhancement found that in terms of the teaches’ knowledge and understanding in the first spiral, the mean scores were rated at a moderate level (\bar{x} =2.56). In the second spiral, the mean scores were at a high level (\bar{x} =4.23) with the average progress rate of 68.44.

3.4 The internal supervision resulted that as a whole in the first spiral, the mean scores were rated at a low level (\bar{x} =1.94). In the second spiral, the value level was at a high level (\bar{x}=4.28) with the percentage progress of 76.47.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, การเสริมสร้างวินัยนักเรียน

Keyword

Teacher Competence Development, Student Discipline Enhancement

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093