...
...
เผยแพร่: 11 ก.ค. 2562
หน้า: 104-113
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 234
Download: 178
Download PDF
ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Effectiveness of school lunch program implementation under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
วงนภา ประกิ่ง, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ระภีพรรณ ร้อยพิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 และหาแนวทางพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน โดยจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 89 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 89 คน และครูผู้สอน จำนวน 166 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ตามความคิดเห็นผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งไม่แตกต่างกัน

3. ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ตามความคิดเห็นผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน   

4.  ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ตามความคิดเห็นผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ไม่แตกต่าง 

5. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ด้านกระบวนการการดำเนินงาน ด้านผลผลิตทางการเกษตร ด้านภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ด้านการวิจัยและพัฒนากิจกรรมตามโครงการ และด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare the implementation effectiveness of the school lunch program, and establish the guidelines for developing the implementation effectiveness of the school lunch program under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, classified by position, work experience and school size. The samples were 89 school administrators, 89 teachers in charge of the school lunch program, and 166 teachers. The research instrument used to collect data was a five-point rating scale questionnaire. The statistics for data analysis involved percentage, mean, standard deviation and One-Way ANOVA

The results were as follows:

1. The implementation effectiveness of the school lunch program as perceived by school administrators, teachers in charge of the school lunch program and teachers under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 were at a high level.

2. The implementation effectiveness of the school lunch program as perceived by school administrators, teachers in charge of the school lunch program and teachers classified by position was not different.

3. The implementation effectiveness of the school lunch program as perceived by school administrators, teachers in charge of the school lunch program and teachers classified by school size was not different.

4. The implementation effectiveness of the school lunch program as perceived by school administrators, teachers in charge of the school lunch program, and teachers classified by work experience was not different.

5. The proposed guidelines for developing the implementation effectiveness of the school lunch program involved operating procedures, agricultural products, partnership networks and involvement, research and development for program activities, and public relations.

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหารโครงการ, โครงการอาหารกลางวัน

Keyword

Implementation Effectiveness, School Lunch Program

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093