บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 66 คน และครูผู้สอน 262 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2563 รวม 328 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ แบบสอบถามระดับสมรรถนะผู้บริหารมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.43-0.86 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบสอบถามระดับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.47-0.90 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product -Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
3. สมรรถนะของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม มีความสัมพันธ์กันทางบวกที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .834
6.สมรรถนะของผู้บริหาร จำนวน 4 สมรรถนะที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนได้โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ การทำงานเป็นทีม (X4) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (X7) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (X1) และการวิเคราะห์และสังเคราะห์ (X5) สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = 0.743+ 0.257X4 + 0.240X7 + 0.185X1 + 0.150X5 และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = 0.312 ZX4 + 0.282ZX7 + 0.196 ZX1 + 0.184 ZX5
7. แนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน 4 ด้าน ดังนี้ คือ 1) การทำงานเป็นทีม ผู้บริหารควรแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุน และให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ 3) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผู้บริหารควรปฏิบัติภารกิจโดยมุ่งเน้นคุณภาพงานด้านความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ และ4) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผู้บริหารควรใช้ความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
Abstract
The purposes of this research were to investigate and compare administrators’ competencies and the effectiveness of school administration as perceived by school administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience; to examine the relationship of administrators’ competencies and the effectiveness of school administration; to determine the predictive power of administrators’ competencies affecting the effectiveness of school administration; and to establish guidelines for developing administrators’ competencies affecting the effectiveness of school administration under Nakhon Phanom Secondary Educational Service Area Office. The sample, obtained through stratified random sampling, consisted of 66 school administrators and 262 teachers, yielding a total of 328 participants under Nakhon Phanom Secondary Educational Service Area Office in the academic year 2020. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan’s table. The tools for data collection were two sets of 5-level rating scale questionnaires, including a set of questionnaires on administrators’ competencies with the discriminative power from 0.43 to 0.86 and the reliability of 0.97, and a set of questionnaires on the effectiveness of school administration with the discriminative power from 0.47 to 0.90 and the reliability of 0.98. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s Product – Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression analysis.
The findings were as follows:
1. The administrators’ competencies, as a whole and each aspect, were at a high level.
2. The effectiveness of school administration, as a whole and each aspect, was at a high level.
3. The administrators’ competencies as perceived by participants with different positions and work experience, as a whole and each aspect, showed no differences, whereas in terms of school sizes, there were different with the .01 level of significance in overall and each aspect.
4. The effectiveness of school administration as perceived by participants with different positions and work experience, as a whole, showed no differences, whereas in terms of school sizes, there were different with the .01 level of significance in overall.
5. The administrators’ competencies and the effectiveness of school administration was positively correlated at the .01 level of significance with the correlation coefficient of .834.
6. Four administrators’ competencies could predict the effectiveness of school administration with the .01 level of significance, including teamwork (X4), personnel potential development (X7), achievement motivation (X1), and analysis and synthesis (X5). The multiple regression equation could be summarized in a raw score form and a standardized score form as follows: Y’ = 0.743+ 0.257X4 + 0.240X7 + 0.185X1 + 0.150X5 Z’ = 0.312 ZX4 + 0.282ZX7 + 0.196 ZX1 + 0.184 ZX5
7. The proposed guidelines for developing administrators’ competencies affecting the effectiveness of school administration included four aspects: 1) Teamwork. Administrators should play the role of leaders or followers appropriately, 2) Personnel Potential Development. Administrators should encourage, support and provide colleagues various forms of development opportunities, 3) Achievement Motivation. Administrators should perform missions emphasizing on the quality of work with accuracy and completeness, and 4) Analysis and Synthesis. Administrators should use systematic thinking when solving problems or developing tasks
คำสำคัญ
สมรรถนะของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนKeyword
Administrators’ Competencies, Effectiveness of School Administrationกำลังออนไลน์: 75
วันนี้: 2,178
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,377
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093