บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของการจัดสวัสดิการของครูโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและลำดับความสำคัญตามความต้องการของครูที่มีต่อการจัดสวัสดิการของโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นตามความต้องการของครูที่มีต่อการจัดสวัสดิการของโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามเจเนอเรชั่น ระยะเวลา การปฏิบัติงาน สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 377 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมด้วยการใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60–1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.871 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการจัดสวัสดิการของครูโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวัง ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. ครูโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครมีความต้องการจำเป็นในเรื่องของสวัสดิการด้านนันทนาการสูงสุดเป็นอันดับแรก
3. การเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นของการจัดสวัสดิการโรงเรียนเอกชนจำแนกตามความแตกต่างของครู พบว่า 3.1) ครูเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ ครูที่ปฏิบัติงานน้อยกว่า 1 ปี และครูที่มีรายได้เฉลี่ย 20,001 – 25,000 บาท ต้องการสวัสดิการด้านเศรษฐกิจมากที่สุด 3.2) ครูเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ครูที่ปฏิบัติงานตั้งแต่ 6 ขึ้นไป ครูที่มีสถานภาพสมรส และหย่า และครูที่มีรายได้เฉลี่ย 15,000–20,000 บาท ต้องการสวัสดิการด้านนันทนาการมากที่สุด 3.3) ครูเจเนอเรชั่นวายครูที่ปฏิบัติงาน 1–5 ปี และครูที่มีสถานภาพโสด ต้องการสวัสดิการด้านเศรษฐกิจและด้านนันทนาการมากที่สุด 3.4) ครูที่มีสถานภาพหม้าย และครูที่มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 25,000 บาท ต้องการสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the current state and the expectation state for welfare provision of private school teachers in Bangkok 2) to study the priority need index (PNI) according the teachers’ need toward welfare provision of private school in Bangkok, and 3) to compare PNI for welfare provision of private school in Bangkok classified by generation, work experience, status, and income. A questionnaire was a tool used in data collecting with IOC value ranged from 0.60-1.00 and the reliability level of 0.871. Krejcie and Morgan (1970) table of sample size determination was used for creating samples for the research. Frequency, percentage, mean, standard deviation and the priority need index (PNI) were used to achieve the research objectives.
The research results showed as follows
1. the current state for welfare provision of private school teachers in Bangkok was at a moderate level, while expectation state was at high level
2. the private school teachers in Bangkok had a highest requirement for recreational welfare as the priority need
3. A comparison of the need of private school welfare classified by teachers’ differences found that 3.1) generation baby boomer teachers, teachers working less than 1 year and teachers with an average income of 20,001 – 25,000 baht had the highest need for economic welfare. 3.2) generation X teachers, teachers working for 6 years and more, married and divorced teachers and teachers with an average income of 15,000 – 20,000 baht had the highest need for recreation welfare 3.3) generation Y teachers, teachers working between 1 - 5 years and single teachers had the highest need for economic and recreation welfare 3.4) widowed teachers and teachers with an average income more than 25,000 baht had the highest need for health care welfare
คำสำคัญ
การประเมินความต้องการจำเป็น, สวัสดิการ, ครูโรงเรียนเอกชนKeyword
Needs Assessment, Welfare, Private School Teachersกำลังออนไลน์: 54
วันนี้: 861
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,447
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093