...
...
เผยแพร่: 11 ก.ค. 2562
หน้า: 53-62
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 388
Download: 193
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
The Developing the potential of classroom research for mentors and students Practice teacher professional experience Mahasarakham Rajabhat University
ผู้แต่ง
ศิริ ถีอาสนา, สมเจตน์ ภูศรี, วีระศักดิ์ ลันสี, พิชัย บุญมาหนองคู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจและความต้องการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 2558 และพัฒนาศักยภาพ และเจตคติที่ดีในการทำวิจัยในชั้นเรียน ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับความรู้ และความต้องการในการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน ระยะที่ 2 พัฒนาศักยภาพ และเจตคติที่ดีในการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษาได้แก่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และครูพี่เลี้ยง จำนวน 44 คน เนื้อหาที่ทำการศึกษาได้แก่องค์ประกอบของการทำวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 23 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แนวการฝึกอบรม แบบศึกษาความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และค่าประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล

ผลการวิจัย พบว่า

ระดับความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชีพครู อยู่ในระดับน้อย และมีความต้องการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่ากลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของการฝึกอบรมฯ มีค่าเท่ากับ 80/80 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการอบรมเชิงปฏิบัติการ เท่ากับ 0.476 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ส่วนการศึกษาผลงานวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษา พบว่าส่วนมากมีคุณภาพอยู่ในระดับดี

Abstract

This research aimed to study the level of knowledge understanding and needs for developing the potential for classroom research of teachers and professional teachers of Mahasarakham Rajabhat University academic year 2558 and potential development and good attitude in classroom research. The research phase is divided into 2 phases. : Phase 1, Education level and the need to develop the capacity to conduct classroom research. Phase 2 develops good potential and attitudes in conducting classroom research using by the workshop. The target groups studied were the students practicing professional teachers and teachers mentor total 44 people. The content of the study was composed of 23 steps of classroom research. and study the target audience's satisfaction. The instruments used in this research were questionnaire, a guideline training, satisfaction questionnaire. Data analysis with basic statistics. Include mean, standard deviation, and efficiency index.

The research found that

Results of the cognitive level study in classroom research. The teacher's mentor and student experience teacher was low and there was a high level of development. Workshop Results It was found that the target group had more understanding about classroom research. Results of the effectiveness / effectiveness study of the workshop was 80/80. The effectiveness index of the workshop was 0.476 and good level of satisfaction. The study of classroom research results of students. It was found that most of the quality was good.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน

Keyword

Developing the potential for classroom research

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093