บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา นครชัยบุรินทร์ 2) เปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษานครชัยบุรินทร์ จำแนกตามสถานภาพและประสบการณ์ทำงาน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา นครชัยบุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบแบบสอบถามคือครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา นครชัยบุรินทร์ปีการศึกษา 2563 จำนวน 255 รูป/คน ประกอบด้วยครู 123 รูป/คน บุคลากรทางการศึกษา 132 รูป/คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan แล้วทำการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .550 – .911 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .986 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบสมมุติฐานใช้ t – test (Independent Samples) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา นครชัยบุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานบุคคล รองลงมา ได้แก่ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานวิชาการและด้านการบริหารงานทั่วไป ตามลำดับ
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีสถานภาพและประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา นครชัยบุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษานครชัยบุรินทร์ ที่สำคัญมีดังนี้ ควรมีการปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในโรงเรียน ควรมีการจัดประชุม ระหว่างคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีประสบการณ์แห่งความสำเร็จ และควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาอย่างชัดเจน
Abstract
This study purposed to 1) study the level of the problems on the management of Phra Pariyattidhamma School in General Education Division, Nokhonchaiburin based on teachers and personnel’s opinions, 2) compare the level of the problems on the management of Phra Pariyattidhamma School in General Education Division, Nokhonchaiburin based on teachers and personnel’s opinions classified by working experiences, and 3) study the recommendations for developing the management of Phra Pariyattidhamma School in General Education Division, Nakhonchaiburin. The samples were a total of 225; those comprised 123 teachers and 132 educators in the academic year 2020, who managed Phra Pariyattidhamma School in General Education Division, Nakhonchaiburin. The samples were determined by using Krejcie and Morgan Table. Research tools consisted of a set of 5-rating scale questionnaires with discrimination .550-.911, the reliability of the whole questionnaire was .986, and structured interview. Statistics used to analyze the data; frequency, mean, standard deviation, and t-test (Independent samples) used to test the hypothesis. Qualitative data used content analysis methods.
The results indicated:
1. The level of opinions of teachers and educators towards the management of Phra Pariyattidhamma School in General Education Division, Nokhonchaiburin, was overall at a moderate level. When considering each aspect, it found that the highest mean was personnel management. It was followed by budget management, academic management, and general management, respectively.
2. Teachers and educators with different status and work experiences had the opinions towards the management of Phra Pariyattidhamma School in General Education Division, Nokhonchaiburin, overall was significantly different at the level of .01.
3. The recommendations for developing the management of Phra Pariyattidhamma School in General Education Division, Nakhonchaiburin the crucial parts are: the school should reform the education based on child-centered; develop morality, bring knowledge based on Sufficiency Economy Philosophy; organize the meeting among boards, teachers, parents, community leaders, specialists, and experienced successful persons; allow stakeholders to participate in setting visions to align with the objectives of the school.
คำสำคัญ
โรงเรียนพระปริยัติธรรม, แผนกสามัญศึกษา, การบริหารงานโรงเรียนKeyword
Phrapariyattidham Schools, Education Department, Management Under Generalกำลังออนไลน์: 73
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,616
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,815
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093