...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 71-81
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 488
Download: 195
Download PDF
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร
Administrative Factors Affecting Effectiveness of Schools under Mukdahan Primary Educational Service Office
ผู้แต่ง
ฐิดาภา จันปุ่ม, เพ็ญผกา ปัญจนะ, ไชยา ภาวะบุตร
Author
Thidapa Chanpum, Penphaka Panjana, Chaiya Pawabutra

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 339 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 113 คน และครูผู้สอน จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยการบริหาร มีค่าความเชื่อมั่น .977 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .816-925 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .979 และมีค่าอำนาจจำแกนรายข้ออยู่ระหว่าง .857-968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ปัจจัยการบริหารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร สัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยการบริหารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ด้านสื่อและเทคโนโลยี ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านผู้บริหาร และด้านชุมชน มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 86.20 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.15545

7. ปัจจัยการบริหารที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 7.1) ด้านผู้บริหาร ควรศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้นำทางวิชาการ ต้องเรียนรู้และเข้าใจงานวิชาการ 7.2) ด้านงบประมาณ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า และให้เกิดมีประสิทธิภาพ 7.3) ด้านชุมชน ควรเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง 7.4) ด้านอาความสถานที่และสภาพแวดล้อม มีการกำหนดแนวทาง วางแผนการบริหารจัดการ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน 7.5) ด้านสื่อและเทคโนโลยี ควรมีการปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ โรงเรียนใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

Abstract

The purposes of this research aimed to examine administrative factors affecting effectiveness of schools under Mukdahan Primary Educational Service Office. The sample, obtained through multi-stage random sampling, were 113 administrators and 226 teachers, yielding a total of 339 participants from schools under Mukdahan Primary Educational Service Office in the academic year 2020. The research instrument for data collection was a set of rating scale questionnaires comprising two aspects: Aspect 1-administrative factors with the reliability of .977 and the discriminative power ranging between .513 and .863; Aspect 2-school effectiveness with the reliability of .958 and the discriminative power ranging between .269 and .884, The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product- moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis

The findings were as follow:

1. The administrative factors affecting school effectiveness as perceived by school administrators and teachers, as a whole were at the highest level.

2. The administrative factors and school effectiveness as perceived by school administrators and teachers, as a whole were different at the .01 level of significance.

3. The administrative factors and school effectiveness as perceived by school administrators and teachers, classified by school sizes as a whole were different at the .01 level of significance.

4. The administrative factors and school effectiveness as perceived by school administrators and teachers, classified by work experience as a whole were different at the .01 level of significance.

5. The relationship between administrative factors and school effectiveness was positive and reached at a high level with the correlation coefficient of 0.929.

6. The administrative factors of schools consisting of media and technology, budget, building and environment, administrators, and community, as a whole were able to predict the school effectiveness at the .01 level of significance with the predictive power of 86.20 and the standard error of estimation of ± .15545.

7. The administrative factors involved five aspects needing improvement: 1) Administrators. School administrators should pursue­ professional development, take the instructional leadership roles, and develop academic affairs management skills; 2) Budget. School administrators should use resources wisely and cost-effectively; 3) Community. School administrators should attend workshops and training on academic affairs continuously; 4) Building and Environment. School administrators should establish guidelines for planning administrative management in terms of school buildings and environment; and 5) Media and Technology. School administrators should adjust learning approaches and promote instructional change by using computer technologies for learning.

คำสำคัญ

ปัจจัยการบริหาร ประสิทธิผลของโรงเรียน

Keyword

Administrative Factors, School Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093