...
...
เผยแพร่: 22 มี.ค. 2565
หน้า: 93-103
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 530
Download: 186
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
The Leadership Between Teachers’ Performance and The Effectiveness Based on Educational Standard On Students’ Quality In Schools Under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 2
ผู้แต่ง
กมลชนก ศรีสุดา, วัฒนา สุวรรณไตรย์, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Kamonchanok Srisuda, Watana Suwannatrai, Pinyo Thonglao

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และแนวทางยกระดับการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 340 คน ได้มาโดยในการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับด้านการปฏิบัติงานของครูผู้สอน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .317 – .847 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9524 และด้านประสิทธิผล ตามมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .263 – .893 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9363 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test ชนิด Independent Samples, One-Way ANOVA, และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การปฏิบัติงานของครูผู้สอนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน ตามความคิดเห็น ของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

3. การปฏิบัติงานของครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน

5. การปฏิบัติงานของครูผู้สอน กับประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางยกระดับการปฏิบัติงานของครูผู้สอนใน 2 ด้าน คือ 1) ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู และ 2) ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน

Abstract

The purposes of this research were to study, compare, determine the predictive power and establish the guidelines for improving teacher performance in schools under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 2. The samples were obtained from multi-stage random sampling, consisted of 340 participants-school administrators and teachers in the academic year 2019. The instrument for data collection was a set of 5-rating scale questionnaires concentrating on teacher performance with the discriminative power value between .317 - .847 and the reliability of .9524, and effectiveness based on educational standards in terms of student quality with the discriminative power value between .263 - .893 and the reliability of .9363. Data were analyzed through percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing was performed through t–test for Independent Samples, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient.

The findings were as follows:

1. Teacher Performance, as perceived by participants, as a whole and in each aspect, was at a high level.

2. The effectiveness based on educational standards on student quality, as perceived by participants, as a whole and in each aspect was at a high level.

3. Teacher performance as perceived by participants classified by positions, work experience, and school sizes as a whole and in each aspect showed no difference.

4. The effectiveness based on educational standards on student quality, as perceived by participants classified by positions, work experience, as a whole and in each aspect was not different, whereas in terms of school sizes, there was at the .01 level of significance overall. When considering each aspect, the opinions in terms of student academic achievement differed at the .01 level of significance.

5. Teacher performance and the effectiveness based on educational standards on student quality as a whole had a positive relationship at a high level with the .01 level of significance.

6. The researcher proposed the guidelines for improving the instructional Teachers’ Performance, as Relationships with parents and communities, Learning management and Teacher duties.

คำสำคัญ

การปฏิบัติงานของครูผู้สอน, ประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา, คุณภาพผู้เรียน

Keyword

Teacher Performance, Effectiveness Based on Educational Standards, Student Quality

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093