บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตสัตตบงกช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี 2) ศึกษาคุณภาพผู้เรียนยุคดิจิทัล กลุ่มสหวิทยาเขตนี้ และ 3) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนยุคดิจิทัลกลุ่มวิทยาเขตนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การบริหารจัดการการเรียนรู้ เป็นอันดับสูงสุด รองลงมาคือ การบริหารจัดการหลักสูตร ส่วนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นอันดับต่ำสุด 2) ระดับคุณภาพผู้เรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความสามารถในการคิด เป็นอันดับสูงสุด รองลงมาคือ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตส่วนความสามารถในการสื่อสารเป็นอันดับต่ำสุด 3) การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนยุคดิจิทัลมีสามด้าน คือ การนิเทศการศึกษา การบริหารจัดการการเรียนรู้ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการบริหารจัดการหลักสูตรส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ผลได้ ร้อยละ 62.5 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ z y = .385 (X5) + .217 (X2) + .181 (X1)
Abstract
The purposes of this study were to investigate: 1) academic administration of school administrators of the digital era students of the Schools Cluster; and 3) effect of academic administration of the school administrators on quality of the digital era students of the Schools Cluster. A sample of 226 was randomly selected from teachers in on quality of the students. A sample of 226 was randomly selected from teachers in the mentioned schools. The tool used was a questionnaire constructed by the researcher. The data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, and multiple regression equation.
The results of this research were as follows
1. Academic administration of these school administrators was overall at the high level, of which the factor of learning management ranked at the top, followed by that of curriculum administration, while research for educational standards and development was at the bottom.
2. Quality of the digital era students was overall at the high level also, of which the factor of thinking capability ranked at the top, follow by capability for applying life skills and communication capacity was at the bottom.
3. Three aspects of academic administration had effects on the quality of the digital era students which the factor of supervision and the administrative process was statistically significant at the level of 0.01, and administration of curriculum affecting the quality of the digital era students with statistically significant at the level of 0.05. Their factors could collectively predict the effects at 62.5 percent and predict the performance by creatingthe following equation Forecasting equations in standard form was z y = .385 (X5) + .217 (X2) + .181 (X1)
คำสำคัญ
การบริหารงานวิชาการ, คุณภาพผู้เรียนยุคดิจิทัลKeyword
Academic administration, The quality of the digital era studentsกำลังออนไลน์: 70
วันนี้: 1,824
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,023
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093