บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในยุคดิจิทัล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ 256 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ทักษะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาทั้งห้าองค์ประกอบ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงอันดับขององค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยอันดับสูงสุดไปหาอันดับต่ำสุด คือ ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม และทักษะด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี ตามลำดับ
2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในยุคดิจิทัลทั้งสี่องค์ประกอบ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยอันดับสูงสุดไปหาอันดับต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพด้านงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในยุคดิจิทัล ในระดับปานกลาง (r = 0.48**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ทักษะด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามลำดับ
Abstract
The purposes of study this were to investigate: 1) management skills of school Principal; 2) work effectiveness of teachers in the Digital Era; and 3) relationship between management skills of school principals and work effectiveness of teachers in the digital era. A sample of 256 was randomly selected from teachers at these schools. The instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used were frequency, percentage, mean, and Pearson’s correlation coefficient.
The result of study revealed as follows.
1. Five components of management skills of the school principals were overall rated at the high level. These components were ranked from the top to the bottom as: morality skill, human skill, innovate skill, and communication and technology skill.
2. Work effectiveness of digital era’s teachers, consisted of four components, was overall rated at high level too. They were ranked from the top to the bottom as: self- development and professional development, other assignment, classroom management, and teaching and learning management.
3. Relationship between management skills of school principals and work effectiveness of teachers in the digital era was at the moderate level (r = 0.48) with was statistical significance at the 0.01 level. The components were ranked from the highest to the lowest order as: innovation skills, technical skills, communication and technological skills, human skills, and ethics and moral skills.
คำสำคัญ
ทักษะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานครูยุคดิจิทัลKeyword
Skill Management School of Principal, Work Effectiveness of Digital Era Teacher.กำลังออนไลน์: 65
วันนี้: 1,818
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,017
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093