บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษาและ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 342 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการนำเสนอแบบพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพ พบว่า ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม ควรกำหนดรูปแบบการบริหารของสถานศึกษาตามบริบทของสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้บุคลากรร่วมแสดงความคิดเห็น ควรใช้วิธีการระดมความคิดและวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการแก้ไขปัญหา
Abstract
The purposes of this research were to 1) examine and compare the level of creative leadership of school administrators which classified by educational status and school’s size, and 2) investigate the approach of creative leadership development of the school administrators. This study employed mixed methods research by using the interview form and questionnaire. The data collection process was divided into two phases: Phase I was related to a quantitative data collection, 324 school administrators and teachers were analyzed by finding the mean, standard deviation, t-test and One-way ANOVA, and Phase II was related to qualitative data collection, informants were 9 personal from administrators and teachers by analyzing descriptive information and contents.
The results were as follows:
1. The creative leadership level of the school administrators was totally in high level.
2. The result of the comparison creative leadership level of the school administrators which classified by condition were not different. It was statistically significant at a level .05.
3. The result of this process, The school administrators should use Participative Management and educational model for the creative leadership development. Using open-ended questions for teachers to share the creative ideas. Teachers were encouraged and developed during this current research regarding result and solve the problems by problem analysis.
คำสำคัญ
แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารสถานศึกษาKeyword
Guideline Study, Creative Leadership, of School Administratorsกำลังออนไลน์: 79
วันนี้: 1,671
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,870
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093