บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการบริหารการจัดการเรียนการสอนทวิภาษาและ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนทวิภาษาของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ประชากร จำนวน 205 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 14 คน ครูผู้สอน จำนวน 191 คน และผู้ทรงคุณวุฒิให้สัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารการจัดการเรียนการสอนทวิภาษาของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น สามลำดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนาครูผู้สอน ด้านการติดตามและประเมินผลและด้านการพัฒนาหลักสูตร
2. แนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนทวิภาษา พิจารณาตามค่าความต้องการจำเป็น ดังนี้ ด้านการพัฒนาครูผู้สอน ผู้บริหารควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนได้รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านการติดตามและประเมินผล ผู้บริหารและครูผู้สอนร่วมกันวางแผนเพื่อกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ และด้านการพัฒนาหลักสูตร ผู้บริหารและครูผู้สอนร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา และประชาสัมพันธ์หลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจ
Abstract
The purposes of this research were 1) to study current conditions, desirable conditions and need indexes of instructional management for the Mother Tongue-based Bilingual Education Program; and 2) to study guidelines for instructional management for the Mother Tongue-based Bilingual Education Program at these schools. The population of 205 composed of 14 directors and 191 teachers form these schools. 5 experts were also used for more data collection. The tools used in this research were a questionnaire and an interview form created by the researcher. The data were analyzed in terms of percentage, standard deviation and the need index (PNImodified).
The research results were as the follows.
1. The current conditions of instructional management for the Mother Tongue-based Bilingual Education Program were overall at the moderate level, while the desirable conditions were overall at the very high level. The need indexes were ranked from the top three as 1) the aspect of teacher development; 2) the aspect of monitoring and evaluation; and 3) the aspect of curriculum development.
2. Guidelines of instructional management for the Mother Tongue-based Bilingual Education Program. For the aspect of teacher development, director should support teacher has been training workshop. For the aspect of monitoring and evaluation, director and teacher planned together for set Key Performance Indicators. Finally, for the aspect of curriculum development, director and teacher analyzed the school curriculum and promote the curriculum to created understanding.
คำสำคัญ
การบริหารการจัดการ, การเรียนการสอนทวิภาษา, สถานศึกษานำร่อง, พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาKeyword
Management, The Mother Tongue-based Multilingual Education Program, Pilot Schools, The Education Innovation Areaกำลังออนไลน์: 59
วันนี้: 1,801
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,000
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093