...
...
เผยแพร่: 22 มี.ค. 2565
หน้า: 185-195
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1287
Download: 238
Download PDF
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
The Instructional Leadership of School Affecting the Effectiveness of Academic Administration Under Buengkan Primary Educational Service Area
ผู้แต่ง
สรรเพชญ ไตรยงค์, ธวัชชัย ไพใหล, รัชฎาพร งอยภูธร
Author
Sanphet Traiyong, Thawatchai Pailai, Ratchadaporn Ngoipoothon

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 372 คน ในปีการศึกษา 2562 จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 107 คน และครูผู้สอนจำนวน 265 คน จากจำนวน 212 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและสัมภาษณ์ โดยค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .978 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .606 - .933 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬอยู่ในระดับมาก

2. เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

4. เปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. เปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน

6. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการมีจำนวน 3 ด้าน ซึ่งพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ได้ร้อยละ 72.30 และมีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์เท่ากับ 0.26009 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = 0.707 + 0.298(X4) + 0.293 (X2) + 0.288 (X3) และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = 0.331 (ZX4) + 0.334 (ZX2) + 0.259 (ZX3)

8. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 3 ด้าน ได้แก่

8.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตร โดยให้ผู้บริหารสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของหลักสูตร ปรับวิธิคิดใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

8.2 ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมทางวิชาการ โดยผู้บริหารจำเป็นต้องกระตุ้นและส่งเสริมให้ครูและบุคลากรร่วมกันจัดบรรยากาศภายในโรงเรียน

 8.3 ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารจำเป็นต้องมีการกำกับติดตามเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง จัดอบรมเชิงปฏิบัติ และพัฒนาการด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้บริหารและครู

Abstract

The purposes of this research were to: examine, compare, study the relationship, find out the predictive power and find out the development of the Instructional Leadership of School Administrators Affecting the Effectiveness of Academic Administration under Buengkan Primary Educational Service Area. The samples consisted of a total of 372 participants including 107 school administrators and 265 teachers of 212 schools. The instruments for data collection were a set of questionnaires and the interview. The reliability of translated version was examined .978 and the individual classification are between .606 - .933. The statistics used foe data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA) and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The Instructional Leadership of School Administrators Under Buengkan Primary Educational Service Area as a whole and each aspect were at a high level.

2. The Instructional Leadership of School Administrators Under Buengkan Primary Educational Service Area as perceived by school administrators and teachers classified by status, work experience and school sizes as a whole were not different.

3. The effectiveness of academic affairs administration of schools Under Buengkan Primary Educational Service Area consisted of as perceived by school administrators and teachers as a whole and each aspect were at a high level.

4. The effectiveness of academic affairs administration of schools Under Buengkan Primary Educational Service Area as perceived by school administrators and teachers classified by status as a whole was not different.

5. The effectiveness of academic affairs administration of schools Under Buengkan Primary Educational Service Area as perceived by school administrators and teachers classified by work experience as a whole was different.

6. The effectiveness of academic affairs administration of schools Under Buengkan Primary Educational Service Area as perceived by school administrators and teachers classified by school size as a whole was different.

7. The Instructional Leadership of School Administrators comprised three aspects which were able to predict the effectiveness of academic administration had a relationship at a statistical significance level of .01. The equation could be summarized in raw scores as follows; Y’ = 0.707 + 0.298(X4) + 0.293 (X2) + 0.288 (X3) And the predictive equation standardized scores was Z’ = 0.331 (ZX4) + 0.334 (ZX2) + 0.259 (ZX3)

8. The research was also proposed the guidelines for the Instructional Leadership of School Administrators involved three aspects:

8.1 Curriculum Development; that was, raising awareness about the importance of curriculum to administrators and improving thinking methods to conform with the current situation.

8.2 Atmosphere Promoting Academic Affairs; that was, creating a conducive environment, motivating and encouraging to arrange the atmosphere in schools.

8.3 School Quality Assurance; that was, the administrators have to monitor and develop the quality assessment for administrators and teachers

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Instructional Leadership, Effectiveness of Academic Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093