บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู และหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 351 คน ได้มาโดยในการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 102 คน และครูผู้สอน จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 พฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษามีค่าความเชื่อมั่น .835 ด้านที่ 2 การปฏิบัติงานของครู มีค่าความเชื่อมั่น .867 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA) และใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation)
ผลการวิจัย พบว่า
1. พฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. การปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. พฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมไม่แตก ต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. แนวทางพัฒนาพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ได้แก่ แนวทางพัฒนาพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษามี 3 ด้าน คือด้านการมีส่วนร่วม ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ และด้านการจูงใจ แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของครู ด้านการจัดการเรียนรู้
Abstract
The purposes of this research aimed to study and compare behaviors of school administrators and teacher performance, and to examine the relationship between behaviors of school administrators and teacher performance under the Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3. The sample, obtained through proportional stratified random sampling, was 102 school administrators, and 249 teachers, yielding a total of 351 participants from schools under the Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3 in the academic year 2020. The research instruments for data collection included: 1) a set of rating scale questionnaires containing two aspects: Aspect 1- behaviors of school administrators with a reliability of .835; Aspect 2- teacher performance with a reliability of .867; and 2) Interview forms. Statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation.
The findings were as follows:
1. School administrators’ behaviors, as perceived by participants as a whole and each aspect were at a high level.
2. Teachers’ performance, as perceived by participants as a whole and each aspect were at the highest level.
3. Overall school administrators’ behaviors, as perceived by participants from different positions and school sizes showed no difference. In terms of work experience, there were overall different at the.01 level of significance.
4. Overall teacher performance, as perceived by participants from different position and school sizes were not different. In terms of work experience, there were different at the .01 level of significance overall and in each aspect.
5. School administrators’ behaviors and teacher performance had a positive relationship at a high level with the .01 statistical significance level.
6. Guidelines for developing the behavior of school administrators and teachers' performance Under the Office of Udon Thani Elementary Education Service Area 3, there are 3 aspects of behavior development guidelines for educational institution administrators: participation aspect; in human relations and motivation Guidelines for improving teacher performance learning management
คำสำคัญ
พฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษา, การปฏิบัติงานของครูKeyword
Behaviors of School Administrators, Teacher Performanceกำลังออนไลน์: 75
วันนี้: 1,710
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,909
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093