บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยโรงเรียนหรือครูที่ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 144 คนโดยใช้การสุ่มแบบง่ายโดยการจับสลาก และสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยโรงเรียน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามค่าประมาณ 5 ระดับ (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่น ของสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.96 และสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีภาพรวมอยู่ในระดับมากและสภาพความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงอันดับจากสูงสุดลงมา ดังนี้ อัตลักษณ์บนโลกดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล และความปลอดภัยทางดิจิทัล
2. แนวการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยหลักการพัฒนาได้แก่ความสามารถทางดิจิทัล หลักมนุษยสัมพันธ์ และหลักความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล องค์ประกอบของการพัฒนา คือ อัตลักษณ์บนโลกดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล และความปลอดภัยทางดิจิทัล และเงื่อนไขความสำเร็จ คือ ความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี และความพร้อมด้านสื่อเทคโนโลยี
Abstract
The purposes of this research were to 1) examine needs for development of digital intelligence leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2. 2) propose guidelines for development of digital intelligence leadership of these school administrators. The sample group used in the research was the school director. The deputy director of the school or the teacher performing the duties of the deputy director under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2, Academic Year 2021, consisted of 144 people using a simple random sampling by lottery were directors and deputy directors of the schools plus three experts. The research instruments were questionnaires and interview forms. It was a questionnaire with 5 levels of approximation (Rating Scale) with confidence values. of the present condition is equal to 0.96 and the condition desirable equal to 0.98. The statistics used in the analysis were analyzed through percentage, mean, standard deviation, modified priority needs index, and content analysis. Administrators
The findings were as follows
1. The overall existing development of digital intelligence leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2 was at the high level, while the overall desirable development of digital intelligence leadership of school administrators was at the very high level. The needs in the development of digital intelligence leadership of the school administrators in terms of modified priority needs index were ranked from the top as: digital identity, digital security, and digital safety.
2. The proposed guidelines for development of digital intelligence leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2 consists of development principles, including digital competence. Principle of interpersonal relations and of ability to use digital technology to develop digital identity, Digital security, and digital safety. The condition for success were technology leadership and technology media readiness
คำสำคัญ
ความฉลาดทางดิจิทัล, แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาKeyword
Digital intelligence, Development of digital intelligence leadership of these schoolกำลังออนไลน์: 21
วันนี้: 879
เมื่อวานนี้: 1,951
จำนวนครั้งการเข้าชม: 62,156
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093