บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ และ 3) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 57 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 456 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 2 ชุด คือ 1) แบบสอบถามภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) อยู่ระหว่าง 0.569 - 0.896 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.979 และ 2) แบบสอบถามการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ มีค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) อยู่ระหว่าง 0.505 – 0.919 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.960 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
2. การบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ได้ โดยมีประสิทธิภาพการพยากรณ์ร้อยละ 86.1 โดยสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ สมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ คือ YI = 0.248 + 0.269X1 + 0.255X2 + 0.153X3 + 0.122X4 + 0.073X5 + 0.069X6 สมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z y = 0.292Z1 + 0.280Z2 + 0.165Z3 + 0.136Z4 + 0.075Z5 + 0.071Z6
Abstract
The purposes of this research were to study 1) digital leadership of school administrators; 2) academic affairs administration in the new normal period; and 3) digital leadership of director affecting academic affairs administration in the new normal period in schools under the Secondary Educational Service Area Office Buriram. The informants were leaders of the knowledge groups of 57 schools. The research instrument was a questionnaire with a 5-level rating scale consisting of 2 sets: 1) The digital leadership questionnaire of school administrators had the discrimination between 0.569 - 0.896 and the reliability was 0.979 and 2) the academic administration questionnaire in the new normal period had the discrimination between 0.505 – 0.919 and the reliability was 0.960. The statistics used in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis.
The research results were as the follows.
1. The digital leadership of the school administrators was overall at the high level.
2. The overall academic administration in the new normal period was also at the high level.
3. Digital leadership of the directors affected the academic affairs administration in the new normal period in the schools at the statistical significance level of 0.05 and could 86.1 percent predict academic administration in new normal situations. The predictive equations were as follows. The multiple regression analysis equations in raw scores was YI = 0.248 + 0.269X1 + 0.255X2 + 0.153X3 + 0.122X4 + 0.073X5 + 0.069X6 The multiple regression analysis equations in standardized scores was Zy = 0.292Z1 + 0.280Z2 + 0.165Z3 + 0.136Z4 + 0.075Z5 + 0.071Z6
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำดิจิทัล, การบริหารงานวิชาการ, ชีวิตวิถีใหม่Keyword
Digital leadership, Academic affairs administration, New normalกำลังออนไลน์: 59
วันนี้: 1,801
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,000
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093