บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 339 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 67 คน และครูจำนวน 272 คน จากจำนวน 45 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารและความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samplesสถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยการบริหาร ตามทัศนะของผู้บริหารและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารและครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยการบริหาร ตามทัศนะของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกันและจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน
4. ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน
5. ปัจจัยการบริหาร โดยรวม (X) กับความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Y) โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r= 0.85)
6. ปัจจัยการบริหาร ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 4 ด้าน พบว่ามีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาได้ ได้แก่ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ (X3) ด้านการบริหารหลักสูตร (X4) และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (X1) โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 73.90 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.109
7. แนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ได้แก่ ทุกคนในโรงเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดี ด้านการบริหารหลักสูตร ได้แก่ การวางแผนดำเนินการที่ชัดเจน และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ได้แก่ การคำนึงถึงจุดเด่น จุดด้อยของสถานศึกษา
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, identify the predictive power, and establish the guidelines for developing the administrational factors and affecting success of the educational quality assurance operation of schools under the Secondary Educational Service Area Office 23. The samples consisted of 339 participants from 45 schools; 67 administrators and 272 teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office 23 academic year 2020. The data was collecting by using questionnaires concerning school administrative factors and the success of the educational quality assurance operation in schools. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings found as follows:
1. The administration factors according to the perspective of school administrators and teachers were in high level.
2. The success of the educational quality assurance operation in schools according to the perspective of school administrators and teachers were in high level.
3. The administration factors to the perspective of school administrators and teachers perceived by; the working position was at the statistics significance at .01, the school size was not different, and the work experiences was at the statistics significance at .01.
4. The success of the educational quality assurance operation in schools according to the perspective of school administrators and teachers were perceived by; the working position was at the statistics significance at .05, the school size was at the statistics significance at .05, and the work experiences was at the statistics significance at .01.
5. The total of administration factors (X) and the total success of the educational quality assurance operation in schools (Y) found that the correlation was high positive at r = 0.85 with statistical significance at level of .01
6. The analyzing of 4 administration factors found that 3 aspects of the administration factors could predict the success of the educational quality assurance operation in schools; environmental and atmosphere (X3), curriculum (X4), and vision (X1). Predictive power for The success of the educational quality assurance operation in schools at 73.90% and standard deviation of prediction equivalent to ±.109.
7. The guidelines for developing the administration factors affecting the success of the educational quality assurance operation in schools had 3 aspects; first, environment and atmosphere such the collaboration from everyone in the school for making the better one. Second, curriculum such planning for clearly operation. Lastly, vision such SWOT analysis.
คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร, การประกันคุณภาพการศึกษาKeyword
Administrational Factors, Educational Quality Assuranceกำลังออนไลน์: 19
วันนี้: 857
เมื่อวานนี้: 1,951
จำนวนครั้งการเข้าชม: 62,134
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093