บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 และประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 และประสิทธิผลโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่มีความแตกต่างกัน 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลโรงเรียน 4) เพื่อหาอำนาจพยากรณ์ของทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน 5) เพื่อหาแนวทางพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยคุณภาพของเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 และมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.48 - 0.89 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test , F-test (One-Way ANOVA), ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากและประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .724
5. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่นำมาวิเคราะห์ จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 52.30 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.31564
6. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 3 ทักษะได้แก่
6.1 ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ควรจัดอบรม ประชุม สัมมนา PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศ มีการนิเทศติดตาม จัดประกวดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในสถานศึกษา
6.2 ทักษะการกำหนดวิสัยทัศน์ ควรจัดอบรม สัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงานในประเทศต่างประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลากรกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน
6.3 ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ ควรจัดทำนโยบายพัฒนาทักษะการคิด จัดอบรม ประชุม สัมมนา ทำ PLC ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาและจัดทำแบบทดสอบประเมินผู้บริหาร
Abstract
The purposes of this research were to study, to compare and to examine predictive power and the ways to improve the administrative skills of school administrators in the 21st century affecting school effectiveness under the secondary education service area office 21. The samples used in this study consisted of 56 administrators and 279 teachers, yielding a total of 335 participants from 56 Schools under Secondary educational Service Area Office 21, selected by simple random sampling. The instruments for collecting data were questionnaire and observation form with the reliability of 0.99 and the discrimination values between 0.48 and 0.89. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and F-test (One-Way ANOVA), Pearson’s product-moment correlation, and Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. Overall administrative skills of school administrators in the 21st century on the opinions between administrators and teachers was at a high level, while overall school effectiveness was at a highest level.
2. The administrative skills of school administrators in the 21st century on the opinions between administrators and teachers classified by positions, work experiences, school sizes and different provinces as a whole was significantly different at .01 level.
3. The school effectiveness on the opinions between administrators and teachers classified by positions, school sizes and different provinces as a whole was significantly different at .05 level. Classified by work experiences as a whole was significantly different at .01 level.
4. The administrative skills of school administrators in the 21st century and school effectiveness as a whole was significantly positive relationship at .01 level. The Correlation coefficient was at .724
5. Five administrative skills of school administrators in the 21st century were analyzed. It was found that three administrative skills could be significantly different predicted the school effectiveness at .01 level. The percentage of predictive power was 52.30 and The Standard Error of Estimate was at ±.31564.
6. Three administrative skills of school administrators in the 21st century affecting school effectiveness should be improved. They were as follows;
6.1. To improve digital literacy skills, the administrators should be provided seminar PLC to exchange their working experience in the best school. They should be also supported and competed using technology and innovation. Besides their work should be followed and evaluated by experts.
6.2 To improve setting vision skills, the administrators should be supported to go seminar both in our country and abroad in order to exchange their experience. Administrators, teachers and education personnel’s determine vision skills together.
6.3 To improve critical and creative thinking skills, the administrators should be provided workshop projects making a policy for developing thinking skill and seminar. To create the new innovation for developing and they should be tested their knowledge.
คำสำคัญ
ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21, ประสิทธิผลโรงเรียนKeyword
The administrative skills of school administrators in the 21st century, the school effectivenessกำลังออนไลน์: 78
วันนี้: 1,850
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,049
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093