...
...
เผยแพร่: 22 มี.ค. 2565
หน้า: 22-31
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1330
Download: 240
Download PDF
การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเอกชน กรณีศึกษาโรงเรียนวินัยนุกูล
Development of Management Strategies of Private School: A Case Study of Vinainukul School
ผู้แต่ง
ปติพงศ์ สิริปทุมานนท์, พิชญาภา ยืนยาว, ธีรวุธ ธาดาตันติโชค
Author
Patipong Siripatumanon, Pitchayapa Yuenyaw, Theerawoot Thadatontichok

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการดำเนินการของโรงเรียนวินัยนุกูลและ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเอกชน: กรณีศึกษาโรงเรียนวินัยนุกูล ประชากร และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของโรงเรียนวินัยนุกูล ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวินัยนุกูล จำนวน 116 คน 2) กลุ่มผู้ที่เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และยกร่างกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเอกชน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิจากโรงเรียนเอกชนที่เป็นเลิศ จำนวน 17 คน และ 3) กลุ่มประชุมเสวนาผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเอกชน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรของโรงเรียนวินัยนุกูล กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง จำนวน 134 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหาเท่ากับ 0.67 - 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.85 แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตารางวิเคราะห์ SWOT Analysis ตารางวิเคราะห์ TOWS Matrix และแบบยืนยันกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเอกชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบันการดำเนินการของโรงเรียนวินัยนุกูล พบว่า 1.1) สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียนวินัยนุกูล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารจัดการ การเงิน โครงสร้างการบริหารการให้บริการ บุคลากร อยู่ในระดับมาก และวัสดุอุปกรณ์ อยู่ในระดับปานกลาง 1.2) สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนวินัยนุกูล ภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ เทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง ตามลำดับ

2. การพัฒนากลยุทธ์ของโรงเรียนวินัยนุกูล มี 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านวิชาการ ได้แก่ 1.1) พัฒนาระบบการบริหารให้เป็นเลิศ 1.2) ปรับนโยบายของโรงเรียนให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของรัฐบาล 1.3) พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่น 1.4) นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และส่งเสริมความเข้าใจของนักเรียน 2) ด้านบุคลากร ได้แก่ 2.1) พัฒนาผลการปฏิบัติงานของครู และบุคลากร 2.2) ทบทวนหน้าที่ปฏิบัติงานวิชาการของครู 2.3) ปรับปรุงระบบภาระงานครู และบุคลากร 2.4) นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงระบบการทำงานของบุคลากรของโรงเรียน 3) ด้านอาคารสถานที่ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อม ได้แก่ 3.1) พัฒนาด้าน อาคารสถานที่ และระบบสารสนเทศ 3.2) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย 3.3) พัฒนาด้านวัสดุครุภัณฑ์ของโรงเรียน 3.4) ติดตาม ประเมินผล และการปรับปรุงวัสดุครุภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ 4) ด้านสภาพเศรษฐกิจ และงบประมาณ ได้แก่ 4.1) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ 4.2) ทบทวนแผนการใช้งบประมาณจากสนับสนุนของภาครัฐให้คุ้มค่า 4.3) สนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาให้กับผู้ปกครอง 4.4) ปรับลดงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการศึกษา และ 5) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองนักเรียน ได้แก่ 5.1) ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของโรงเรียนสู่สาธารณชน 5.2) ส่งเสริมการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองผ่านช่องทางออนไลน์ 5.3) ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษา 5.4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน

Abstract

This research aimed to: 1) study the current situation in the operation of Vinainukul School; and 2) develop a management strategy for private schools by a case study of Vinainukul School. The research population and informants were divided into 3 groups: 1) 116 Vinainukul students’ parents as questionnaire respondents for current situation of the school. 2) work shop participants for analysis of strengths, weaknesses, opportunities, obstacles, and strategy drafting. They were 17 school administers, teachers, school committees, and experts of best-practice private school. 3) stakeholders and interested persons in strategy confirmation seminar. They were 134 school administers, school personnel, school committees, and students’ parents. The research instrument consisted of: a 5 rating-scale questionnaire with the content validity between 0.67-1.00 and internal consistency reliability coefficients of 0.85, a SWOT analysis form and TOWS matrix analysis table, and 3) a strategy confirmation form of private education management. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The findings of this research were as follows:

1. The current conditions of Vinainukul School found that: 1.1) overall, the internal environment of Vinainukul School was at a high level. When considering each aspect, the aspects were management, money, structure, service, and man were at a high level, while material was at a moderate level. 1.2) Overall and in specific aspects, the external environment of Vinainukul School was at a high level. The aspects were technology, socio–cultural, economic, and politic, respectively.

2. The strategy development of Vinainukul School consisted of 5 aspects: 1) Academic strategy were 1.1) developing excellent management system, 1.2) adjusting school policies in line with government requirements, 1.3) developing and revising of local curriculum, and 1.4) supervising, monitoring, evaluating and promoting students’ understanding. 2) Personnel strategy were 2.1) developing performance of teachers and personnel, 2.2) reviewing academic responsibility of teachers, 2.3) improving the workload system for teachers and personnel, and 2.4) supervising, monitoring, evaluating and improving working system of school personnel. 3) Facilities, technology and environment strategy were 3.1) developing buildings, facilities and information systems, 3.2) developing modern information technology systems, 3.3) developing school supplies and equipment, and 3.4) monitoring, evaluating and improving poor quality supplies and equipment. 4) Economic and budgetary condition strategy were 4.1) developing budget management efficiency, 4.2) reviewing the budget planning of government contribution to be efficient, 4.3) supporting the educational budget for parents, and 4.4) reducing cost of education. 5) Relationship between schools and parents strategy were 5.1) publicizing the school’s news and information, 5.2) promoting the provision of information to parents through online channels, 5.3) promoting the community involvement in education policy, and 5.4) promoting participation of the school committees, parents and communities

คำสำคัญ

กลยุทธ์, การบริหารสถานศึกษา, สถานศึกษาเอกชน

Keyword

Strategy, School Management, Private School

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093