...
...
เผยแพร่: 22 มี.ค. 2565
หน้า: 1-11
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 710
Download: 186
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Administrative Factors Affecting the Success of Student Centered Learning Management of Primary School Under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
วริษา เจียวิริยบุญญา, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, เพ็ญผกา ปัญจนะ
Author
Warisa Jiawiriyaboonya, Ploenpit Thummarat, Penphaka Panjana

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 352 คน ปีการศึกษา 2563 จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 110 คน และครูผู้สอน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ด้านปัจจัยทางการบริหารมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ที่ 0.471 - 0.836 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.956 ส่วนความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ที่ 0.478 - 0.876 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.981 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples ทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) การทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe - Method) หรือ LSD ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ปัจจัยทางการบริหารตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. ความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของสถานศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

5. ปัจจัยทางการบริหารกับความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 คือ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านบรรยากาศของสถานศึกษา และด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ควรมีกระบวนการ เป้าหมายและมอบหมายงานที่ชัดเจน มีการประชุมแสดงความคิดเห็น ศึกษาสภาพปัญหาอย่างรอบด้าน และด้านการทำงานเป็นทีม   ควรเลือกใช้บุคลากรตามความถนัด เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและคอยเป็นที่ปรึกษา แนะนำช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสม

Abstract

The objectives of this study were to explore, compare, study the correlation, identify the predictive power and establish the guidelines for developing the administrative factors and the success of student centered learning management of primary school under nakhon phanom primary educational service area office 2. The sampling consisted of 352 cases of school administrators and teachers of primary school under the nakhon phanom primary educational service area office 2. Out of these, 110 cases were school administrators and 242 cases were teachers. The tool used for data collection were a scale questionnaire comprising questionnaire of administrative factors affecting the success of student centered learning management and structured interview form, comprise with guidelines for developing the administrative factors and the success of student centered learning management. The statistics used for data analysis comprised of mean, standard deviation, independent samples t-test, F-test, one-way ANOVA with scheffe method or fisher’s least significant, pearson’s product moment correlation, difference and stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. Administrative factors affecting the student centered learning management of primary school in accordance with opinions of school administrators and teachers was at the highest level in both overall and in all aspects.

2. The success of the student centered learning management of primary school in accordance with opinions of school administrators and teachers was at the highest level in both overall and in all aspects.

3. Administrative factors affecting the student centered learning management of primary school in accordance with opinions of school administrators and teachers categorized by positions, size of school, it was found that overall was different statistical significance at level of .01 and categorized by years’ experiences, it was found that there was no difference in overall.

4. The success of the student centered learning management of primary school in accordance with opinions of school administrators and teachers categorized by positions, size of school and years’ experiences was no difference.

5. The relationship between administrative factors and the success of student centered learning management of primary school in accordance with opinions of school administrators and teachers had positive correlation with statistical significance at level of .01

6. The three administrative factors aspects predicted the success of student centered learning management, including teamwork aspect and school environment aspect and policy implementation aspect

7. The guidelines for developing the administrative factors affecting the student centered learning management in 2 aspects, including policy implementation aspect in accordance with having process, goals, clearing assignment, brainstorming, studying all problem states and teamwork aspect in accordance with putting the right man to the right job, allowing to participate and being a mentor to provide appropriate assistance

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

Keyword

Administrative factors, Student Centered learning management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093